ม.มหิดล ขับเคลื่อนนโยบาย Entrepreneurial ก้าวสู่การเป็น World Class University

มหิดลสิทธาคาร
มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall)

“World Class University” คือ อีกหนึ่งเป้าหมายของมหาวิทยาลัยไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประกาศ แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็น World Class University ผ่านนโยบาย MAHIDOL: Towards Begin an Entrepreneurial University จากโรงเรียนหมอ สู่ Entrepreneurial University

“การเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลกมีองค์ประกอบสำคัญ คือ การมีคนเก่ง ซึ่งเรามีทั้งนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรที่เก่ง มีแหล่งทุนทั้งด้านทุนมนุษย์ และทุนวิจัย รวมถึงต้องมีการบริหารจัดการที่ดี มีความคล่องตัว ส่งเสริมมให้มหาวิทยาลัยก้าวเข้าสู่อันดับโลก มหาวิทยาลัยต้องสร้างนิสิตนักศึกษาให้เก่ง และมีความเป็น Entrepreneurial เก่ง พัฒนาตนเอง ปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้หมายถึงการเป็นผู้ประกอบการเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นผู้ที่อยู่ที่ไหนก็ไปสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น กล้าคิด กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นผู้สร้างงานวิจัย องค์ความรุ้ใหม่ๆ มีนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีสามารถใช้เชิงพาณิชย์ ทำประโยชน์ให้สังคม ผลักดันให้มม.สู่ม.อันดับโลกได้ ”ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว

การก้าวสู่ World Class University โดยใช้ แนวคิด MAHIDOL:Towards Being an Entrepreneurial University โดยมหาวิทยาลัยได้กำหนดยุทธศาสตร์ 5 ข้อที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

1. ยุทธศาสตร์บูรณาการด้านการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการสร้างทักษะความเป็นผู้ประกอบการ พัฒนาและปรับปุรงหลักสูตรด้านทักษะความเป็นผู้ประกอบการที่ครอบคลุมวงจรผู้ประกอบการ (Entrepreneur Life Cycle) โดยออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญของภาควิชาต่างๆ เช่น Science Based Entrepreneur, Digital Based Entrepreneur, Creative Based Entrepreneur นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้ปรับเปลี่ยนด้านการเรียนการสอนไปสู่การมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เน้นการคิดค้นงานวิจัยที่เกิดมาจากความคิดสร้างสรรค์และนำนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนพร้อมทั้งสามารถต่อยอดสู่ผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่สร้างประโยชน์ได้จริงมากขึ้น

2. ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงสหวิทยาการ พัฒนากิจกรรมเพื่อสนับสนุนการสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัย คณาจารย์ หน่วยงานจากภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการทำวิจัยที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและยกระดับศักยภาพด้านสังคมและเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการทำวิจัยร่วมและการทำวิจัยแบบสหวิทยาการ โดยมีกิจกรรมขับเคลื่อน อาทิ การจัด Networking Event การสร้าง Partnership โดยตรงกับบริษัทและชุมชนที่ตั้งโดยรอบมหาวิทยาลัย การสนับสนุนทุนวิจัย เป็นต้น

3. ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายและชุมชนนวัตกรรม มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายที่ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในด้านศิษย์เก่า องค์กรภาครัฐ และชุมชนเพื่อสนับสนุนการค้นหาผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนสู่การเป็น Entrepreneurial University โดยมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสร้างเครือข่าย Mentors, Experts และ Investors

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรุู้และนวัตกรรม มุ่งบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการดำเนินงานและพัฒนาบุคลากรให้มีส่วนร่วมกับกิจกรรม Entrepreneurial University โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การเปิดโอกาสให้บุคลากรของสถาบันเพิ่มพูนทักษะและความรู้

5. ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่สร้างสรรค์ มุ่งเน้นการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานและกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม โดยมีกิจกรรมต่างๆรองรับ โดยเฉพาะการพัฒนา Innovative Space เพื่อสนับสนุนการพัฒนาต้นแบบสิ่งประดิษฐ์ เช่น Makerspace การสนับสนุนพื้นที่ Co-Working Space เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกันและรองรับการพัฒนาธุรกิจใหม่

นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิด Innovation Space 5 แห่ง ได้แก่ 1.คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตพญาไท 2.วิทยาลัยนานาชาติ 3.คณะวิศวกรรมศาสตร์ 4.อาคารเจรจานวัตกรรม และ 5. ศูนย์พัฒนาเครื่องมือแพทย์และนวัตกรรมทางสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งดำเนินการร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยแต่ละพื้นที่จะมีเครื่องมือและบริการที่ต่างกันเพื่อให้สามารถพัฒนานวัตกรรมเฉพาะทางที่สร้างคุณค่าได้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ้างอิงจาก: ม.มหิดล ขับเคลื่อนนโยบาย Entrepreneurial ก้าวสู่การเป็น World Class University (unigang.com)