คำถามที่พบบ่อย (FAQ) สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

  • Q : อยากลาพักการศึกษา / ดรอปเรียน ต้องทําอย่างไร

    A : หากนักศึกษาต้องการลาพักการศึกษา / ดรอปเรียน สามารถติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะที่นักศึกษาสังกัด

  • Q : เปิดบัญชี SCB เพื่อทำบัตรนักศึกษาในแอพพลิเคชั่นไม่ได้ ข้อมูลนักศึกษาไม่ถูกต้อง

    A : ขอให้นักศึกษาส่ง ชื่อ / รหัสนักศึกษา / ปัญหาที่พบ มาที่อีเมล : musmartcard@mahidol.ac.th

  • Q : นักศึกษาปี 1 เพิ่งเข้าศึกษาปีนี้สามารถดรอปเรียนได้ไหม

    A : ต้องพิจารณาเหตุผลในการดรอปเรียน สามารถติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะที่นักศึกษาสังกัด

  • Q : หากต้องการขอทุน ทางมหาวิทยาลัยมหิดลมีทุนการศึกษาอะไรบ้าง

    A : หากนักศึกษาต้องการขอทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลก็มีทุนการศึกษาให้ โดยมีรายละเอียดทุนต่าง ๆ ดังนี้

    1. ทุนสนับสนุนการศึกษา ได้แก่ ทุนขาดแคลนทุนทรัพย์, ทุนสมาคมศิษย์เก่า, ทุนจากแหล่งทุนภายนอก, ทุนนักศึกษาพิการ, ทุนภูมิพล, ทุนมหิดลวิทยาจารย์
    2. ทุนสนับสนุนการศึกษาของคณะ
    3. ทุนช่วยเหลือและสนับสนุน ได้แก่ ทุนฉุกเฉิน, เงินยืม (ไม่มีดอกเบี้ย), ทุนช่วยเหลือพิเศษ (มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล)
    4. ทุนสวัสดิการ ได้แก่ ทุนนักศึกษาช่วยงาน, ทุนอาหารกลางวัน
    5. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

    สามารถดูรายละเอียดข้อมูลทุนการศึกษาทั้งหมดได้ที่ >  กดคลิก

    นักศึกษาสามารถติดตามข่าวสาร/ประกาศการรับสมัครทุนการศึกษา ได้ที่เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา https://op.mahidol.ac.th/sa/newsscholarship

  • Q : ทุนภายนอกคืออะไร

    A : เป็นเงินทุนจากแหล่งทุนภายนอก ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ / ธนาคาร / บริษัท / ห้างร้าน / มูลนิธิฯ / องค์กรการสาธารณะกุศล และผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยดำเนินการตามความประสงค์ของเจ้าของทุน เช่น คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ขอรับทุน ซึ่งนักศึกษาสามารถติดตามได้จากบอร์ดประชาสัมพันธ์ที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะ/วิทยาลัย หรือเว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา (https://op.mahidol.ac.th/sa/)

  • Q : ถ้าต้องการทราบแหล่งการเข้าถึงข้อมูลทุนภายนอกสามารถสืบค้นได้ที่ไหน

    A : เป็นเงินทุนจากแหล่งทุนภายนอก ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ / ธนาคาร / บริษัท / ห้างร้าน / มูลนิธิฯ / องค์กรการสาธารณะกุศล และผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยดำเนินการตามความประสงค์ของเจ้าของทุน เช่น คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ขอรับทุน ซึ่งนักศึกษาสามารถติดตามได้จากบอร์ดประชาสัมพันธ์ที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะ/วิทยาลัย หรือเว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา (https://op.mahidol.ac.th/sa/)

  • Q : ช่วงเวลาในการสมัครขอรับทุนภายนอกและคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นอย่างไร

    A : นักศึกษาสามารถดูข้อมูลรายละเอียด ดังนี้

    • การสมัครขอรับทุนภายนอก จะมีช่วงเวลาการรับสมัครไม่ตรงกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละทุนการศึกษา
    • คุณสมบัติของผู้สมัครจะขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าของทุนการศึกษาซึ่งนักศึกษาที่สนใจสมัครขอรับทุนการศึกษา สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร/ รายละเอียด ได้ที่ https://op.mahidol.ac.th/sa/ และ Facebook : กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Q : ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เลขที่บัญชี จะต้องทำอย่างไร

    A : ใช้แบบฟอร์ม กยศ.108 (ดาวน์โหลดที่เว็บไชต์ : กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือมาติดต่อที่กองกิจการนักศึกษา) กรอกรายละเอียดให้ถูกต้อง พร้อมเอกสารแนบที่เกี่ยวข้อง เช่น

    1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    2. สำเนาหนังสือการเปลี่ยนชื่อ
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน
    4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
      *สำเนาเอกสารทุกฉบับ ต้องรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้กู้ยืม (บมจ.ธนาคารกรุงไทย และ/หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย)
  • Q : ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สามารถตรวจสอบยอดหนี้ด้วยตนเองได้ที่ไหน

    A : ผู้กู้สามารถตรวจสอบยอดหนี้ด้วยตนเอง ที่เมนู ตรวจสอบยอดหนี้ ที่ www.studentloan.or.th

  • Q : การเก็บจำนวนชั่วโมงจิตอาสา สามารถเก็บได้ถึงวันที่เท่าไหร่ เพื่อยื่นกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในปีการศึกษาถัดไป

    A : AT จิตอาสาที่นำมาขอกู้ยืมในปีถัดไป สามารถเก็บได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน ของปีการศึกษาก่อนขอกู้ยืม

  • Q : ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จะได้รับการโอนเงินค่าครองชีพเมื่อใด

    A : ธนาคารจะโอนจ่ายเงินค่าครองชีพให้กับผู้กู้ยืมเมื่อสถานศึกษาตรวจสอบและยืนยันใบลงทะเบียนผู้กู้ยืมผ่านระบบ e-studentloan ภายใน 30 วันนับจากวันที่สถานศึกษาส่งข้อมูล ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมและสถานศึกษาต้องจัดส่งเอกสารการกู้ยืมให้กับธนาคารโดยเร็ว หากธนาคารไม่ได้รับเอกสารการกู้ยืมที่ครบถ้วนและถูกต้องจากผู้กู้ยืมและสถานศึกษาภายใน 30 วัน กองทุนจะระงับการโอนเงินค่าครองชีพของผู้กู้ยืมในเดือนถัดไป

  • Q : นักเรียน/นักศึกษา มีสิทธิ์กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อการศึกษาได้ทุกคนหรือไม่

    A : กองทุนมีวัตถุประสงค์สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในลักษณะต่างๆ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงระดับปริญญาตรี เป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ ไม่เกินขอบเขตการให้เงินกู้ยืมที่กองทุนกำหนด ซึ่งนักเรียน/นักศึกษาที่จะกู้ยืมเงินดังกล่าว จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎ ระเบียบ ประกาศและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กองทุนกำหนด

    ทั้งนี้ ขอให้ศึกษาข้อมูลการกู้ยืมเงินลักษณะต่าง ๆ จากเว็บไซต์ของกองทุน ที่  https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1595218254

  • Q : บุคคลใดเป็นผู้รับรองรายได้สำหรับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้บ้าง

    A :

    1. กรณีมีรายได้ประจำ ใช้สลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วยงาน (ผู้มีอำนาจของหน่วยงานลงนาม) การกรอกรายได้ต้องระบุให้ตรงกับหลักฐานที่แนบและตรงกับข้อมูลที่บันทึกในระบบ
    2. กรณีไม่มีรายได้ประจำ ใช้แบบฟอร์ม กยศ. 102
    – การกรอกรายได้ต้องระบุข้อมูลให้ตรงกับหนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (กยศ.102) และข้อมูลที่บันทึกในระบบ
    – สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการ/เอกสารอื่นใดรับรองว่าเป็นข้าราชการจากหน่วยงานที่ผู้รับรองได้สังกัด เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น
  • Q : กรณีผู้กู้ยืมเป็นบุตรข้าราชการหรือประกอบอาชีพอื่นๆ ซึ่งมีรายได้เกิน 360,000 บาท/ปี แต่มีภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆ เมื่อหักลบแล้วน้อยกว่า 360,000 บาท/ปี จะมีสิทธิกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือไม่

    A : การพิจารณารายได้ต่อครอบครัว ให้พิจารณาจากรายได้รวมทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่สามารถนำรายจ่ายอื่นๆ มาหักลบ

  • Q : ในกรณีที่นักเรียน/นักศึกษาไม่ได้ยื่นเรื่องกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในเทอมที่ 1 แต่ต้องการขอกู้ยืมในเทอมที่ 2 จะทำได้หรือไม่

    A : ไม่ได้ ผู้กู้ยืมจะต้องยื่นขอกู้ยืมผ่านระบบ e-studentloan ตั้งแต่เทอม 1 เป็นต้นไป

  • Q : นักเรียน/นักศึกษาที่มิได้มีการลงทะเบียนเรียน ในเทอมนั้นๆ จะสามารถยื่นเรื่องขอกู้ยืมค่าครองชีพของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้หรือไม่

    A : ไม่ได้ ผู้ที่จะมีสิทธิกู้ยืมจะต้องมีสถานะศึกษาอยู่เท่านั้น

  • Q : บิดา มารดาของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นผู้มีรายได้ประจำต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือนรับรองรายได้ประกอบอีกด้วยหรือไม่

    A : ไม่ต้องใช้หนังสือรับรองรายได้

    • หนังสือรับรองรายได้ จะใช้ในกรณีที่ไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือนจากต้นสังกัด
  • Q : ยื่นแบบคำขอกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แล้วแต่ต้องการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาได้หรือไม่ จะต้องทำอย่างไร

    A : ผู้กู้ยืมจะต้องยกเลิกแบบคำขอกู้ยืมผ่านระบบออนไลน์ก่อน จึงจะยื่นขอกู้ยืมใหม่ได้  แต่ถ้าสถานศึกษานั้นๆ มีการบันทึกกรอบวงเงินและอนุมัติสัญญาแล้ว สถานศึกษาเก่าต้องยกเลิกสัญญากู้ยืมผ่านระบบ e-Studentloan  และส่งแบบยกเลิกสัญญาให้กับธนาคารในปีนั้นๆ  แล้ว จึงสามารถขอยื่นกู้ยืม ณ สถานศึกษาแห่งใหม่ โดยไม่เสียสิทธิการกู้ในปีนั้น

  • Q : ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ลืมรหัสผ่านหรือถูกระงับบัญชีเข้าใช้ระบบ DSL ต้องทำอย่างไร

    A :

    • กรณีผู้ใช้ถูกระงับบัญชี หรือลืมรหัสผ่าน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ … คลิก
    • หากท่านมีความประสงค์เปลี่ยนแปลง / แก้ไขเบอร์โทรศัพท์ ที่ใช้ในการลงทะเบียน ช่องทาง Mobile Application “กยศ. Connect”  หรือช่องทางเว็บไซต์  https://wsa.dsl.studentloan.or.th ขอให้ทำหนังสือถึงกองทุนเพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ในการลงทะเบียน กยศ.Connect พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนชน (รับรองสำเนาถูกต้อง) โดยจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เข้ามาตามที่อยู่กองทุนหรือส่งเอกสารไฟล์ .pdf ทางอีเมล info@studentloan.or.th
  • Q : กรณีนักเรียน นักศึกษา ที่ยื่นคำขอกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เรียบร้อยแล้ว ภายหลังต้องการเปลี่ยนสถานศึกษาต้องทำอย่างไร

    A : นักเรียน นักศึกษาต้องตรวจสอบสถานะการกู้ยืมของตนเองก่อน ซึ่งหากสถานศึกษาเดิมยังไม่ได้ดำเนินการขั้นตอนต่างๆในระบบ นักเรียน นักศึกษาสามารถยกเลิกได้ด้วยตนเอง แต่หากได้ดำเนินการแล้วให้เร่งแจ้งกับสถานศึกษายกเลิกการกู้ยืมเงินของตนเองโดยเร็ว เพื่อที่จะสามารถยื่นขอกู้ยืมเงินกับสถานศึกษาใหม่ ได้ภายในระยะเวลาที่กองทุนกำหนด

  • Q : ผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กรณีที่ไม่ใช่บิดามารดามีการกำหนดคุณสมบัติหรือไม่

    A : ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีความสามารถในการทำนิติกรรม และมีความประสงค์จะรับผิดขอบชำระหนี้แทนผู้กู้ยืมหากผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้

  • Q : ในกรณีที่นักศึกษากู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เทอมที่ 1 และไม่ต้องการกู้ยืมเงินต่อในเทอมที่ 2 จะต้องทำอย่างไร และจะสามารถกู้ยืมในปีถัดไปได้หรือไม่

    A : ในกรณีที่ไม่ต้องการกู้ยืมต่อในเทอมที่ 2

    1. ไม่ต้องเข้าไปยืนยันการขอกู้ยืมในเทอมที่ 2
    2. นักศึกษาต้องมาเขียนแบบรายงานสภาพการศึกษา (กยศ.204 แบบรายงานสถานภาพการศึกษา) กับกองกิจการนักศึกษา
      ผู้กู้ยืมต้องการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป สามารถดำเนินการเข้ายืนยันการกู้ยืม โดยมีสถานะเป็นผู้กู้ต่อเนื่องม.มหิดล เลื่อนชั้นปี และดำเนินการตามขั้นตอนในประกาศ
  • Q : ในเทอมที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ไม่ได้ขอกู้ยืมค่าครองชีพ แต่ในเทอมที่ 2 ต้องการกู้ยืมค่าครองชีพได้หรือไม่

    A : ไม่สามารถกู้ยืมได้ เนื่องจากผู้กู้ยืมจะต้องแสดงความประสงค์ขอกู้ยืมค่าครองชีพไว้ เมื่อตอนยื่นใบคำขอกู้ยืม/แบบยืนยัน

  • Q : ในกรณีที่นักศึกษาต้องการย้ายสถานศึกษาและประสงค์ทำการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กับสถานศึกษาใหม่ จะสามารถทำได้หรือไม่ และจะต้องทำอย่างไรบ้าง

    A : การกู้ยืมใหม่สามารถยื่นเรื่องขอกู้ยืมกับสถานศึกษาแห่งใหม่ผ่านระบบ e-studentloan ได้โดยสถานศึกษาแห่งใหม่จะเป็นผู้พิจารณา แต่จำนวนปีในการกู้ยืมจะถูกหักออกไปตามจำนวนปีที่เคยกู้ยืมมาก่อน เช่น หลักสูตร 4 ปีจะกู้ได้แค่ 3 ปี เท่านั้น

  • Q : กรณีนักศึกษาผู้กู้ยืมรายเก่าจากสถานศึกษาอื่น ได้ขอกู้ยืมในสถานศึกษาใหม่ และแอพพลิเคชั่น "กยศ. Connect" ของนักศึกษาแจ้งว่า "ไม่สามารถดำเนินการ เนื่องจากไม่พบข้อมูลรายงานสถานภาพ ติดต่อสถานศึกษา" นักศึกษาต้องดำเนินการอย่างไร

    A : นักศึกษาต้องติดต่อสถานศึกษาเดิม เพื่อแจ้งให้สถานศึกษาเดิมดำเนินการรายงานสถานภาพของนักศึกาาในระบบ DSL ให้เรียบร้อย

  • Q : ในกรณีที่นักศึกษากรอกรหัสนักศึกษาผ่านระบบ DSL ไม่ถูกต้อง สามารถแก้ไขได้อย่างไร

    A : การแก้ไขรหัสนักศึกษาในระบบ DSL สามารถดำเนินการได้ดังนี้

    1. ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ยื่นกู้และยังไม่ได้ยืนยันข้อมูลแบบคำขอกู้ยืมส่งไปที่สถานศึษา ผู้กู้ยืมเงินสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
    2. หากผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ส่งคำขอกู้ยืมไปที่สถานศึกาาแล้ว สถานศึกษาสามารถแก้ไขรหัสนักศึกษาได้ โดยใช้รหัสผู้ตรวจสอบรายการ (checker)
  • Q : สำหรับนักศึกษาใหม่หากยังไม่ได้รับรหัสนักศึกษาจะสามารถยื่นคำขอกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้หรือไม่

    A : หากนักศึกษายังไม่ได้รับรหัสนักศึกษา จะยังไม่สามารถยื่นคำขอกู้ยืมเงินได้ เนื่องจากในขั้นตอนการยื่นคำขอกู้ยืมเงินระบบกำหนดให้นักศึกาาต้องกรอกรหัสนักศึกษาด้วย

  • Q : การรับรองรายได้กรณีใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถแนบเอกสารในระบบ DSL ได้หรือไม่

    A : สำหรับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สามารถแนบเอกสารในระบบ DSL ได้ตามปกติ

  • Q : กรณีมีข้อความแจ้งเตือนว่า "ไม่สามารถดำเนินการได้ ไม่พบค่าใช้จ่ายตามหลักสูตร"

    A : สำหรับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ดำเนินการในระบบ DSL มีข้อความแจ้งเตือนว่า “ไม่สามารถดำเนินการได้ ไม่พบค่าใช้จ่ายตามหลักสูตร” เนื่องจากสถานศึกษายังไม่ได้บันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายตามหลักสูตรของหลักสูตรนั้นๆ ดังนั้นจึงต้องรอให้ทางคณะหลักสูตรนั้นๆ ทำการบันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายตามหลักสูตรให้เรียบร้อยก่อน

  • Q : การกรอกวงเงินในระบบใหม่ ค่าเล่าเรียนต้องรวมค่าครองชีพหรือไม่ เนื่องจากไม่พบช่องให้กรอกค่าครองชีพ

    A : สำหรับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ดำเนินการในระบบ DSL ระบบใหม่ให้กรอกเฉพาะค่าเล่าเรียน โดยไม่ต้องกรอกค่าครองชีพ เนื่องจากค่าครองชีพระบบจะคำนวณให้โดยอัตโนมัติ หากนักศึกษาประสงค์จะกู้ยืมค่าครองชีพ

  • Q : นักศึกษายื่นคำขอกู้ยืมเงิน แต่ไม่สามารถเลือกคณะและหลักสูตรได้ ต้องดำเนินการอย่างไร

    A : สำหรับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ดำเนินการในระบบ DSL แต่ไม่สามารถเลือกคณะและหลักสูตรได้นั้น นักศึกษาจะยื่นกู้ยืมได้เมื่อสถานศึกษาได้บันทึกค่าใช้จ่ายตามหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว

  • Q : ขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาได้ที่ไหน

    A : นักศึกษาสามารถขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาได้ทั้งรูปแบบ Online ผ่าน link : http://tiny.cc/MU-Onestopservice และ Walk-in ณ ชั้น 4 กองบริหารการศึกษา ตึก MLC ม.มหิดล ศาลายา

    ผู้ขอรับบริการสามารถยื่นขอเอกสารสำคัญผ่านช่องทาง Online ได้ 24 ชั่วโมง  และสามารถเลือกได้ว่าจะมารับเอง หรือจะให้จัดส่งไปรษณีย์ EMS ไปยังที่อยู่ปลายทางก็ได้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    เอกสารสำคัญทางการศึกษา
    สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สำหรับศิษย์เก่าระดับปริญญาตรี สำหรับศิษย์เก่าระดับปริญญาโท/เอก
    • ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) • ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript/Digital Transcript) • ใบแทนปริญญาบัตร กรณีสูญหาย/ชำรุด
    • ใบรับรองการเป็นนักศึกษา (Certificate) • ใบรับรองคุณวุฒิ (Certificate) • ใบแปลปริญญาบัตร (Translate)
    • คำอธิบายรายวิชา (Course Information) • ใบรับรองตัวสะกด (Spelling Certificate) • ใบรับรองตัวสะกด (Spelling Certificate)
    • การแก้ไขข้อมูลนักศึกษาปัจจุบัน (เบื้องต้น) • ใบแทนปริญญาบัตร กรณีสูญหาย/ชำรุด (Testimonial)
    • ทำบัตรนักศึกษา (กรณีสูญหาย/ชำรุด) • ใบแปลปริญญาบัตร (Translate)
    หมายเหตุ
    – นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ กรุณาติดต่อหน่วยงานต้นสังกัด
    – นักศึกษาวิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ สามารถขอใบแสดลผลการศึกษาได้ที่หน่วยงานต้นสังกัด

    One Stop Service
    เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา

    สถานที่ตั้ง : ชั้น 4 กองบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    โทร: 02 849 4551 หรือ อีเมล onestopservice@mahidol.edu

    (** เบอร์ One Stop Service มีคู่สายเดียว ในบางครั้งจึงไม่สามารถให้บริการทุกท่านได้อย่างเต็มที่ หากติดต่อแล้วไม่มีคนรับสาย กรุณารอ 10 นาที เพื่อติดต่ออีกครั้งค่ะ หรือแจ้งรายละเอียดทางอีเมลได้ทันที)

    ทั้งนี้ : การติดต่อ One Stop Service ทุถกครั้ง กรุณาแจ้งรหัสนักศึกษา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการทำรายการค่ะ

    หมายเหตุ:

    • สำหรับผู้ที่เลือกมารับเอกสารด้วยตัวเอง สามารถมารับได้ในวัน – เวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. (ปิดพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น.) ณ ห้อง MUSAIS ชั้น 1 ตึก MLC ม.มหิดล ศาลายา
    • สำหรับการแก้ไขข้อมูลนักศึกษา (เบื้องต้น) หมายถึงการแก้ไขตัวสะกดเท่านั้น
    • Trick พิเศษ!!!! แนะนำให้ผู้ขอรับบริการ ขอผ่านช่องทาง Online เข้ามาก่อน แล้วค่อย Walk-in มารับเอกสาร แบบนี้จะเร็วมากขึ้นเยอะเลย
    • นักศึกษารหัสเก่ากว่า 39xxxxx กรุณาติดต่อช่องทางอีเมล onestopservice@mahidol.edu เท่านั้น
    • ผู้ขอรับบริการกรุณาอ่านเงื่อนไขการให้บริการก่อนชำระเงิน!!! ทาง OSS ขออนุญาตไม่คืนเงินหากท่านขอเอกสารเข้ามาไม่ถูกต้องทุกกรณี
    • สำหรับการทำบัตรนักศึกษาในกรณียังไม่เคยได้รับบัตร หรือ ในกรณีบัตรชำรุด สูญหาย สามารถติดต่อที่ได้ห้อง MUSAIS ในเวลา 08.30-15.30 น. เท่านั้น

    One Stop Service เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา
    เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.(เว้นวันหยุดราชการ)

    สถานที่ตั้ง : ชั้น 4 กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    เบอร์โทร : 02-849-4551
    Email : onestopservice@mahidol.edu

    :: กองบริหารการศึกษา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ม.มหิดล ศาลายา

  • Q : จบการศึกษาแล้วแต่ยังไม่ได้รับใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) และใบรับรองคุณวุฒิของนักศึกษา

    A : ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) และใบรับรองคุณวุฒิของนักศึกษาที่จบปีการศึกษานี้ หากยังไม่ได้รับให้ติดต่อคณะต้นสังกัด เนื่องจากทางคณะจะเป็นผู้แจกให้กับนักศึกษา หากได้รับไปแล้วและต้องการจะขอเพิ่ม ให้ทำเรื่องขอเพิ่มได้ที่ One Stop Service สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก


    One Stop Service เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา
    เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.(เว้นวันหยุดราชการ)

    สถานที่ตั้ง : ชั้น 4 กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    เบอร์โทร : 02-849-4551
    Email : onestopservice@mahidol.edu

    :: กองบริหารการศึกษา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ม.มหิดล ศาลายา

  • Q : หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) ตั้งอยู่ตรงไหน การเดินทางและอาหารการกิน สะดวกหรือไม่

    A : หอพักตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัย  มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ใกล้ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ใกล้โรงอาหาร ใกล้สนามกีฬา ใกล้ร้านสะดวกซื้อ  ใกล้สถานีรถราง/สถานี Bus Terminal การเดินทางสะดวกสบายแน่นอนค่ะ

  • Q : ภายในห้องพักของหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีเฟอร์นิเจอร์อะไรให้บ้าง

    A : ทางหอพักได้จัดเตรียมเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องพักให้น้อง ๆ คนละ 1 ชุด ดังนี้ เตียง ฟูกขนาด 3.5 ฟุต ตู้เสื้อผ้า โต๊ะอ่านหนังสือ และเก้าอี้

  • Q : หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางอะไรบ้าง

    A : ตู้กดน้ำร้อน/น้ำเย็น ไมโครเวฟ ตู้เย็น ห้องอ่านหนังสือ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ อินเทอร์เน็ตไร้สาย (Free Wi-Fi) ลานออกกำลังกายกลางแจ้ง ห้องรักษาพยาบาล ระบบสแกนบัตรเข้า-ออกอาคาร กล้องวงจรปิด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง

  • Q : หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีเครื่องปรับอากาศไหม

    A : ห้องพักทุกประเภทของบ้านมหิดลไม่มีเครื่องปรับอากาศค่ะ

  • Q : หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) ปลอดภัยหรือไม่

    A : หอพักของเราตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัย มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำอาคารหอพักทุกอาคาร ตลอด 24 ชั่วโมง มีการเดินตรวจตราทุก ๆ ชั่วโมง พร้อมกล้องวงจรปิดบริเวณรอบหอพัก  มีการเข้า-ออกอาคารหอพักด้วยระบบสแกนบัตร ปลอดภัยแน่นอนค่ะ  

  • Q : หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีพื้นที่ส่วนกลางหรือไม่ อะไรบ้าง

    A : ทางหอพักมีพื้นที่ส่วนกลางให้น้อง ๆ นั่งเล่น พักผ่อน และอ่านหนังสือ ซึ่งจะมีอยู่ในทุกอาคารหอพัก รวมถึงยังมีเรือนกิจกรรม (Co-Working Space) พร้อมระบบเครื่องปรับอากาศ ให้น้อง ๆ ได้เข้าใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

  • Q : ทางหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีช่างบริการซ่อมแซมเวลาของชำรุดในห้องพักหรือไม่

    A : ทางหอพักบ้านมหิดล มีช่างดูแล บำรุงรักษาทุกอาคาร  โดยหากมีอุปกรณ์ในหอพักชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ น้องสามารถแจ้งซ่อมได้ที่สำนักงานได้เลยค่ะ  ทางหอพักยินดีแก้ไขให้ใช้งานได้โดยเร็วที่สุด

    นักศึกษาสามารถติดต่อผ่านทางช่องทางได้ ดังนี้

  • Q : เวลาเปิด-ปิด หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล)

    A : ประตูเข้าออกบ้านมหิดลเปิดเวลา 05.00 น. และปิดเวลา 23.00 น.  โดยทางหอพักอาจมีการปรับช่วงเวลาเปิด-ปิดให้สอดคล้องกับกิจกรรมของนักศึกษา เช่น ช่วงอ่านหนังสือสอบ เป็นต้น

  • Q : รูมเมททางหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) จะจัดให้ใช่ไหม

    A : ระบบจะทำการสุ่มรูมเมทให้กับนักศึกษา โดยจะจัดให้คณะเดียวกันอยู่ด้วยกันค่ะ

  • Q : เข้าหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง

    A : สิ่งของนักศึกษาทุกคนควรจะเตรียมเพิ่มเติมในการเข้าอยู่ในหอพักบ้านมหิดล ได้แก่

    • รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
    • ผ้าปูที่นอน ขนาด 3½ x 3½ x 6 ฟุต ผ้าห่ม , หมอน ,ปลอกหมอน
    • แม่กุญแจ สำหรับคล้องตู้เสื้อผ้า จำนวน 2 ชุด
    • ของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ที่จำเป็น
  • Q : ในการเข้าพักที่หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีระบบคัดกรองหรือสิทธิพิเศษสำหรับนักศึกษาต่างจังหวัดหรือไม่

    A : ไม่มีค่ะ นักศึกษาทุกคนจะต้องทำการจองหอพักพร้อมกัน ผ่านระบบออนไลน์ SMARTEDU : https://smartedu.mahidol.ac.th/Authen/login.aspx

  • Q : ถ้าต้องการติดต่อเจ้าหน้าที่หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) ต้องไปที่จุดใด

    A : เนื่องจากปัจจุบันงานหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีการรวมสำนักงานหอพักไว้ที่จุดเดียว ซึ่งน้องๆ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ ได้ที่สำนักงานบ้านศรีตรัง (หอ11)  เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 23.00 น. หรือโทรสายด่วน 066-1045599

    • หมายเหตุ : อาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลาการให้บริการในช่วงปิดภาคเรียน
  • Q : ช่องทางการติดต่อหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล)

    A : นักศึกษาสามารถติดต่อผ่านทางช่องทางได้ ดังนี้

  • Q : ยื่นคะแนนภาษาอังกฤษอย่างไร

    A : ตามประกาศ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีฯ พ.ศ. 2564 กำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาต้องได้รับมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษตามที่กำหนดก่อนจบการศึกษา

    โดยสามารถทำการยื่นคะแนนภาษาอังกฤษได้ในระบบ Smartedu ตามขั้นตอน ดังนี้

    1. Login เข้าสู่ระบบ Smartedu
    2. เลือกรายการ “ระบบคะแนนภาษาอังกฤษ”
    3. เลือก “ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ”
    4. เลือก “กรอกข้อมูลคะแนนการสอบ”
    5. ใส่ข้อมูลที่กำหนดแล้วกด “บันทึก”

    หมายเหตุ:

    1. สำหนักนักศึกษาที่มีผลการสอบ MU-ELT และผู้ที่ผ่านการเรียน Intensive English Courses ไม่ต้องยื่นคะแนนผ่านระบบ Smartedu
    2. สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ให้ปฏิบัติการตามประกาศส่วนงาน

    ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม งานทะเบียนและประมวลผล กองบริหารการศึกษา : โทร. 02 849 4571

  • Q : ทำไมในใบเสร็จค่าเทอมจึงมีวิชาภาษาอังกฤษอยู่แล้ว

    A : เป็นการลงทะเบียนแบบ “แพคเกจ” ไว้ให้สำหรับนศ.ปี 1 เทอม 1 จะได้ทราบว่าต้องเรียนอะไร

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ต้องเรียนตามเลเวลหรือระดับที่ปรากฎในใบเสร็จใช่หรือไม่

    A : ไม่ใช่ ต้องรอจัดระดับโดยใช้คะแนนภาษาอังกฤษจาก MU-ELT หรือคะแนนอื่นๆ ก่อน

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ถ้าเลเวลหรือระดับที่เรียนไม่ตรงกับใบเสร็จเป็นอะไรไหม

    A : ไม่เป็นไร ขอให้ตรงกับผลการลงทะเบียนก็พอ

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

     

     

  • Q : เมื่อจัดระดับตามคะแนนภาษาอังกฤษแล้วต้องทำอย่างไรต่อไป

    A : การดำเนิการแบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้

    • แบบที่ 1 อยู่ระดับเดียวกันกับที่คณะลงทะเบียนให้ : นักศึกษาไม่ต้องดำเนินการอะไร
    • แบบที่ 2 อยู่ระดับที่สูงหรือต่ำกว่าระดับที่คณะลงทะเบียนให้ : ระบบจะปรับระดับใน Smartedu ให้อัตโนมัติ นักศึกษาไม่ต้องดำเนินการอะไร
    • แบบที่ 3 คะแนนจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องเรียน Advanced English : นักศึกษาต้อง “ลดรายวิชา” LAEN xxx (3 หน่วยกิต) ออกก่อน แล้วจึงลงทะเบียน “เพิ่มรายวิชา” ในกลุ่ม Advanced English (3 หน่วยกิต) ภายในระยะเวลาที่กำหนด

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ทำไมบางคนมีการปรับระดับหรือลดรายวิชาแล้ว บางคนผลการลงทะเบียนยังเหมือนเดิม

    A : เจ้าหน้าที่กำลังทยอยอัปเดต สามารถตรวจสอบได้อีกครั้งเมื่อถึงกำหนดการลงทะเบียนของปี 1

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : กรณีต้องเรียน Advanced English จะเลือกกลุ่มเรียน (sec) และจัดตารางอย่างไร

    A : เลือกกลุ่มเรียนในช่วงเวลาที่ไม่ซ้อนกับวิชามมศท และวิชาภาษาไทย

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : กรณียังไม่มีคะแนนภาษาอังกฤษต้องทำอย่างไร

    A : สมัครสอบ MU-ELT รอบเพิ่มเติม รอประกาศผลคะแนนและผลการจัดกลุ่มเรียน แล้วจึงลงทะเบียนเรียนในกลุ่มที่ 2 ติดตามข้อมูลได้ที่ https://op.mahidol.ac.th/ea/english

     

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : รายวิชาภาษาอังกฤษหายไปจากรายการรายวิชาที่ลงทะเบียน

    A : ให้ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งในช่วงกำหนดลงทะเบียน และหากพบปัญหา สามารถสอบถามได้ที่ทางเพจกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : อยากทราบอัตราค่าบริการขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา และใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ถึงจะสามารถรับได้

    A : รายละเอียดอัตราค่าบริการและระยะเวลาในการขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา มีข้อมูลดังนี้

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    รายการ อัตรา ระยะเวลา
    • ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) 50 บาท 7 วันทำการ
    • ใบรับรองการเป็นนักศึกษา (Certificate) 50 บาท 7 วันทำการ
    • ใบแทนปริญญาบัตร (Testimonial) 100 บาท 7-15 วันทำการ
    • ใบแปลปริญญาบัตร (Translate) 100 บาท 7 วันทำการ
    • คำอธิบายรายวิชา (Course Information) 20 บาท 3 วัน
    • การแก้ไขข้อมูลนักศึกษาปัจจุบัน (เบื้องต้น) 20 บาท 1 วันทำการ
    • ทำบัตรนักศึกษา (กรณีสูญหาย/ชำรุด) 250 บาท 30 นาที
    (ชำระผ่านช่องทาง QR Code)

    One Stop Service เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา
    เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.(เว้นวันหยุดราชการ)

    สถานที่ตั้ง : ชั้น 4 กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    เบอร์โทร : 02-849-4551
    Email : onestopservice@mahidol.edu

    :: กองบริหารการศึกษา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ม.มหิดล ศาลายา

  • Q : อยากทราบช่วงเวลาการขอทุนการศึกษาสามารถยื่นขอได้เมื่อไหร่

    A : ในแต่ละทุนการศึกษานั้น มีช่วงเวลาการรับสมัครแตกต่างกัน โดยมีข้อมูลดังนี้

    ลำดับ ประเภททุน ระยะเวลา
    1 ทุนการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ระดับปริญญาตรี ก.ค. – ก.ย.
    2 ทุนสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ต.ค. – พ.ย.
    3 ทุนภูมิพล มิ.ย. – ส.ค.
    4 ทุนมหิดลวิทยาจารย์ ต.ค. – พ.ย.
    5 ทุนฉุกเฉินมหาวิทยาลัย ม.ค. – ธ.ค.
    6 ทุนช่วยเหลือพิเศษ (มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล) ม.ค. – ธ.ค.
    7 ทุนนักศึกษาช่วยงาน (กองกิจการนักศึกษา) มี.ค. – พ.ค.
    8 ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการ มิ.ย. – ส.ค.
    9 กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เม.ย. – ส.ค.

    สามารถดูรายละเอียดข้อมูลทุนการศึกษาทั้งหมดได้ที่ >  กดคลิก

    นักศึกษาสามารถติดตามข่าวสาร/ประกาศการรับสมัครทุนการศึกษา ได้ที่เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา https://op.mahidol.ac.th/sa/newsscholarship

  • Q : ลงทะเบียนทำบัตรนักศึกษาไม่ทันทำอย่างไร
    A : สำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนทำบัตรนักศึกษาไม่ทันตามกำหนด
    ส่งรายละเอียดและแบบฟอร์มมาที่ e-mail : musmartcard@mahidol.ac.th เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่กองบริหารการศึกษาทราบและประสานงานกับ SCB ต่อไป
  • Q : ยังไม่เคยได้รับบัตรประจำตัวนักศึกษาต้องทำอย่างไร

    A : สามารถติดต่อที่ได้ห้อง MUSAIS ในเวลา 08.30-15.30 น. เท่านั้น


    One Stop Service
    เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา

    สถานที่ตั้ง : ห้อง Mahidol University Student, Academic and International Services (MUSAIS) อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    โทร: 02 849 4551 หรือ อีเมล onestopservice@mahidol.edu

    (** เบอร์ One Stop Service มีคู่สายเดียว ในบางครั้งจึงไม่สามารถให้บริการทุกท่านได้อย่างเต็มที่ หากติดต่อแล้วไม่มีคนรับสาย กรุณารอ 10 นาที เพื่อติดต่ออีกครั้งค่ะ หรือแจ้งรายละเอียดทางอีเมลได้ทันที)

    ทั้งนี้ : การติดต่อ One Stop Service ทุถกครั้ง กรุณาแจ้งรหัสนักศึกษา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการทำรายการค่ะ

    หมายเหตุ:

    • สำหรับผู้ที่เลือกมารับเอกสารด้วยตัวเอง สามารถมารับได้ในวัน – เวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. (ปิดพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น.) ณ ห้อง MUSAIS ชั้น 1 ตึก MLC ม.มหิดล ศาลายา
    • สำหรับการแก้ไขข้อมูลนักศึกษา (เบื้องต้น) หมายถึงการแก้ไขตัวสะกดเท่านั้น
    • Trick พิเศษ!!!! แนะนำให้ผู้ขอรับบริการ ขอผ่านช่องทาง Online เข้ามาก่อน แล้วค่อย Walk-in มารับเอกสาร แบบนี้จะเร็วมากขึ้นเยอะเลย
    • นักศึกษารหัสเก่ากว่า 39xxxxx กรุณาติดต่อช่องทางอีเมล onestopservice@mahidol.edu เท่านั้น
    • ผู้ขอรับบริการกรุณาอ่านเงื่อนไขการให้บริการก่อนชำระเงิน!!! ทาง OSS ขออนุญาตไม่คืนเงินหากท่านขอเอกสารเข้ามาไม่ถูกต้องทุกกรณี
    • สำหรับการทำบัตรนักศึกษาในกรณียังไม่เคยได้รับบัตร หรือ ในกรณีบัตรชำรุด สูญหาย สามารถติดต่อที่ได้ห้อง MUSAIS ในเวลา 08.30-15.30 น. เท่านั้น

    เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.(เว้นวันหยุดราชการ)
    กองบริหารการศึกษา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ม.มหิดล ศาลายา

    เบอร์โทร : 02-849-4551
    Email : onestopservice@mahidol.edu

     

  • Q : บัตรประจำตัวนักศึกษาชำรุด สูญหาย ติดต่อขอรับใหม่ได้ที่ไหน

    A : สามารถติดต่อที่ได้ห้อง MUSAIS ในเวลา 08.30-15.30 น. เท่านั้น


    One Stop Service
    เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา

    สถานที่ตั้ง : ห้อง Mahidol University Student, Academic and International Services (MUSAIS) อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    โทร: 02 849 4551 หรือ อีเมล onestopservice@mahidol.edu

    (** เบอร์ One Stop Service มีคู่สายเดียว ในบางครั้งจึงไม่สามารถให้บริการทุกท่านได้อย่างเต็มที่ หากติดต่อแล้วไม่มีคนรับสาย กรุณารอ 10 นาที เพื่อติดต่ออีกครั้งค่ะ หรือแจ้งรายละเอียดทางอีเมลได้ทันที)

    ทั้งนี้ : การติดต่อ One Stop Service ทุถกครั้ง กรุณาแจ้งรหัสนักศึกษา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการทำรายการค่ะ

    หมายเหตุ:

    • สำหรับผู้ที่เลือกมารับเอกสารด้วยตัวเอง สามารถมารับได้ในวัน – เวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. (ปิดพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น.) ณ ห้อง MUSAIS ชั้น 1 ตึก MLC ม.มหิดล ศาลายา
    • สำหรับการแก้ไขข้อมูลนักศึกษา (เบื้องต้น) หมายถึงการแก้ไขตัวสะกดเท่านั้น
    • Trick พิเศษ!!!! แนะนำให้ผู้ขอรับบริการ ขอผ่านช่องทาง Online เข้ามาก่อน แล้วค่อย Walk-in มารับเอกสาร แบบนี้จะเร็วมากขึ้นเยอะเลย
    • นักศึกษารหัสเก่ากว่า 39xxxxx กรุณาติดต่อช่องทางอีเมล onestopservice@mahidol.edu เท่านั้น
    • ผู้ขอรับบริการกรุณาอ่านเงื่อนไขการให้บริการก่อนชำระเงิน!!! ทาง OSS ขออนุญาตไม่คืนเงินหากท่านขอเอกสารเข้ามาไม่ถูกต้องทุกกรณี
    • สำหรับการทำบัตรนักศึกษาในกรณียังไม่เคยได้รับบัตร หรือ ในกรณีบัตรชำรุด สูญหาย สามารถติดต่อที่ได้ห้อง MUSAIS ในเวลา 08.30-15.30 น. เท่านั้น

    เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.(เว้นวันหยุดราชการ)
    กองบริหารการศึกษา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ม.มหิดล ศาลายา

    เบอร์โทร : 02-849-4551
    Email : onestopservice@mahidol.edu

  • Q : การจัดสอบ MU-ELT จะมีสอบกี่ครั้ง

    A :  คณะศิลปศาสตร์จะจัดให้มีการสอบ MU-ELT ปีละ 3-4 ครั้ง ติดตามได้ทางเว็บไซต์ของคณะศิลปศาสตร์ https://la.mahidol.ac.th/th/mu-elt และเฟสบุ๊ค www.facebook.com/LiberalArts.Mahidol

    ติดต่อ: ศูนย์ทดสอบภาษาและพัฒนาทักษะทางวิชาการ
    Center for Assessment and Academic Services

    Tel: 02-4414401-8 ต่อ 1110,1106,1730 หรือ 064-4382250
    Facebook: https://www.facebook.com/MULA.CAAS
    Email: mula.caas@gmail.com
    Line: @574cnrgk

  • Q : สามารถแจ้งความประสงค์ในการย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มายังรพ.สังกัดม.มหิดลได้อย่างไร

    A : มหาวิทยาลัยอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ต้องการย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มายัง รพ.สังกัด ม.มหิดลได้ด้วยช่องทางนี้

    • นักศึกษาระดับก่อนปริญญาตรีและระดับปริญญาตรี : แจ้งความประสงค์ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th หรือ เข้าจาก We Mahidol Application
      • เลือกเมนู “สารสนเทศนักศึกษา” และเลือก “ระบบแจ้งย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพ/Health Insurance for International Student
      • นศ.ที่ใช้งานเป็นครั้งแรก ระบบแจ้งแสดงรายละเอียดให้ศึกษา / นศ.ที่เคยแสดงความประสงค์ไว้แล้วสามารถแสดงความประสงค์ใหม่ได้ (ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี ตามที่สปสช.กำหนด)
    • นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา : ติดต่อ “งานกิจการนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล”

    Note :
    • นศ.สามารถตรวจสอบสิทธิด้วยตนเองได้ที่ https://eservices.nhso.go.th/eServices
    • การย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถย้ายได้ไม่เกิน 4 โรงพยาบาลเท่านั้น ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน
    • การย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มายัง รพ.สังกัด ม.มหิดล หลังจากแจ้งความประสงค์แล้ว จะใช้ระยะเวลาย้ายสิทธิภายใน 2 เดือน
    • หากเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการที่ รพ.สังกัด ม.มหิดล ได้ทุกแห่งโดยนำบัตรนักศึกษาและบัตรประชาชนไปแสดงตนที่ รพ.ทุกครั้งที่รับบริการ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายในรายการที่สวัสดิการนักศึกษาครอบคลุม

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

  • Q : ย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มายัง รพ.สังกัด ม.มหิดลดีอย่างไร

    A : เมื่อนศ.มหิดล ทำการย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้วนั้นจะได้รับ ดังนี้

    1. เป็นสวัสดิการสำหรับ นศ.มหิดล ที่สามารถย้ายสิทธิฯ มายังรพ.ศิริราช หรือรพ.รามาธิบดี ได้ในระหว่างที่ศึกษา (ไม่เปิดลงทะเบียนทั่วไป)
    2. รายการรักษาพยาบาลครอบคลุมค่ารักษาใน รพ.ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถเบิกค่ารักษาได้มากกว่า 30,000 บาทต่อปีการศึกษา โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
    3. สามารถเบิกค่ารักษาทางทันตกรรมได้มากกว่ารายการทันตกรรมพื้นฐานใน รพ.ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

    Note :
    • นศ.สามารถตรวจสอบสิทธิด้วยตนเองได้ที่ https://eservices.nhso.go.th/eServices
    • การย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถย้ายได้ไม่เกิน 4 โรงพยาบาลเท่านั้น ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน
    • การย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มายัง รพ.สังกัด ม.มหิดล หลังจากแจ้งความประสงค์แล้ว จะใช้ระยะเวลาย้ายสิทธิภายใน 2 เดือน
    • หากเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการที่ รพ.สังกัด ม.มหิดล ได้ทุกแห่งโดยนำบัตรนักศึกษาและบัตรประชาชนไปแสดงตนที่ รพ.ทุกครั้งที่รับบริการ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายในรายการที่สวัสดิการนักศึกษาครอบคลุม

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

  • Q : สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ย้ายได้ไหม และจะกระทบอะไรหรือไม่

    A : สามารถเลือกได้ตามความสมัครใจของนักศึกษา

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

  • Q : สวัสดิการด้านสุขภาพ นศ.มหิดล กับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นครอบคลุมอะไรบ้าง

    A : สิ่งที่สวัสดิการด้านสุขภาพครอบคลุม มีดังนี้

    1.  รับบริการรักษาพยาบาลทางด้านร่างกายและจิตใจ รพ.สังกัด ม.มหิดล ได้ทุกแห่ง
    2.  รับบริการรักษาทางทันตกรรมพื้นฐาน (อุดฟัน, ถอนฟัน, ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด) รพ.สังกัด ม.มหิดล ได้ทุกแห่ง
    3.  วงเงินค่ารักษาคนละ 30,000 บาทต่อปีการศึกษา
    4.  ไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

  • Q : สวัสดิการด้านสุขภาพ นศ.มหิดล กับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นไม่ครอบคลุมอะไรบ้าง

    A : สิ่งที่สวัสดิการด้านสุขภาพไม่ครอบคลุม มีดังนี้

    1.  การรับบริการคลินิกพิเศษ, คลินิก Premium
    2.  บริการเพื่อความสวยงาม เช่น การรักษาสิว, จัดฟัน
    3.  การรับวัคซีนเพื่อป้องกันต่าง ๆ (ยกเว้น มีความจำเป็นทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล)

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

     

  • Q : หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (MU Health) เปิดให้บริการวันและเวลาใดบ้าง

    A : เปิดให้บริการในทุกวันจันทร์ – ศุกร์ (วันทำการ) ตั้งแต่เวลา 08.00 – 20.00 น.

    • แพทย์ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป (นอกเวลา) ทุกวันจันทร์ เวลา 16.30 – 19.30 น.
    • พี่ ๆ พยาบาลให้บริการ (เวลาทำการปกติ) ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 20.00 น.

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

  • Q : ต้องการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปี 2566 สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ และผู้กู้รายเก่าจากมัธยมปลาย/สถาบันอื่น (ระดับปริญญาตรี) ต้องดำเนินการอย่างไร

    A : นศ.ศึกษารายละเอียดตาม กำหนดการกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566 สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ และผู้กู้รายเก่าจากมัธยมปลาย/สถาบันอื่น (ระดับปริญญาตรี) ได้ที่นี่ กดดูเอกสาร

    ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาที่เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://op.mahidol.ac.th/sa/category/Announce


    ติดต่อสอบถามได้ในวันเวลาราชการ
    โทร: 0-2849-4656 และ 0-2849-4514
    Line OpenChat กยศ.มหาวิทยาลัยมหิดล: MUSL scholarship
    หมายเหตุ: ขอเข้ากลุ่มและตั้งชื่อในกลุ่มด้วย ตัวย่อคณะตามด้วยรหัสนักศึกษา ตัวอย่าง ss6512345

  • Q : ต้องการกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566 สำหรับผู้กู้ยืมต่อเนื่อง (เลื่อนชั้นปี) ต้องดำเนินการอย่างไร

    A : นศ.สามารถอ่านรายละเอียด กำหนดการกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566 สำหรับผู้กู้ยืมต่อเนื่อง (เลื่อนชั้นปี) ได้ที่นี่ กดดูเอกสาร

    ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาที่เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://op.mahidol.ac.th/sa/category/Announce


    ติดต่อสอบถามได้ในวันเวลาราชการ
    โทร: 0-2849-4656 และ 0-2849-4514
    Line OpenChat กยศ.มหาวิทยาลัยมหิดล: MUSL scholarship
    หมายเหตุ: ขอเข้ากลุ่มและตั้งชื่อในกลุ่มด้วย ตัวย่อคณะตามด้วยรหัสนักศึกษา ตัวอย่าง ss6512345

  • Q : อยากทราบปฏิทินการศึกษาและกิจกรรมนักศึกษาสามารถดูรายละเอียดได้ที่ไหน

    A : นักศึกษาสามารถดูรายละเอียดปฏิทินการศึกษาและกิจกรรมนักศึกษาได้ที่ลิ้งค์นี้ https://mustudent.mahidol.ac.th/events

    ปฏิทินการศึกษาและกิจกรรมนักศึกษา เช่น

    • วันรับบัตรประจําตัวนักศึกษา
    • วันเปิดเรียนภาคการศึกษา
    • วันปิดภาคการศึกษา
    • วันพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ระดับมหาวิทยาลัย
    • วันลงทะเบียนเรียน วิชาศึกษาทั่วไป วิชาเลือกเสรีและ วิชา Advance English ในระบบออนไลน์
    • วันสอบ
    • วันประกาศผลสอบประจำภาค
    • วันลงทะเบียนสมัครสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษ (MU-ELT)
  • Q : สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเปิดบัญชี 0 บาท (ศูนย์บาทถ้วน) ในการขอมีบัตรประจำตัวนักศึกษา SMART ID CARD (บัตรเดบิต) ได้ที่ไหน

    A : นักศึกษาสามารถเข้าดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเปิดบัญชีได้ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th

    โดย Login เข้าใช้งานระบบ และเข้าสู่เมนู สารสนเทศนักศึกษา เลือกดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเปิดบัญชี 0 บาท (ศูนย์บาทถ้วน) (สำหรับนักศึกษาที่ไม่เคยมีบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือต้องการเปิดบัญชีธนาคารฯ ใหม่)

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Email: musmartcard@mahidol.ac.th

  • Q : กำหนดการลงทะเบียนเรียนเมื่อไหร่ และมีค่าปรับการลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนดอย่างไร

    A : นักศึกษาสามารถดูกำหนดการลงทะเบียน ภาคการศึกษาต้น, ภาคการศึกษาปลาย, ภาคการศึกษาฤดูร้อน และค่าปรับการลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนด ได้ที่เว็บไซต์ https://mustudent.mahidol.ac.th/registration_schedule


    มีคำถามหรือข้อสงสัย

    • ติดต่ออาจารย์ผู้สอนได้จากเบอร์โทรศัพท์/อีเมลในตารางรายวิชา PDF  หรือ
    • ติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะ ได้ที่เว็บไซต์ >> Click   หรือ
    • ติดต่อกองบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัย ที่เบอร์โทร. 02-849-4562, 63, 65, 67 ในวันและเวลาราชการ หรือ ทางเพจ https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA
  • Q : ตรวจสอบตารางสอน เวลาเรียน จำนวนรับ และรูปแบบ/แพลตฟอร์มที่ใช้จัดการเรียนการสอนได้ที่ไหน

    A : คลิกหัวข้อ “รายวิชาศึกษาทั่วไป” ในเว็บไซต์ https://smartedu.mahidol.ac.th หรือ ติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะที่สังกัด

    ช่องทางการติดต่อด้านการศึกษาของส่วนงาน >> Click


    มีคำถามหรือข้อสงสัย

    • ติดต่ออาจารย์ผู้สอนได้จากเบอร์โทรศัพท์/อีเมลในตารางรายวิชา PDF  หรือ
    • ติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะ ได้ที่เว็บไซต์ >> Click   หรือ
    • ติดต่อกองบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัย ที่เบอร์โทร. 02-849-4562, 63, 65, 67 ในวันและเวลาราชการ หรือ ทางเพจ https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA
  • Q : เกณฑ์คะแนนมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษามหิดล ระดับปริญญาตรี ต้องมีคะแนนเท่าไหร่

    A : เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานความรู้ด้านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจะต้องมีเกณฑ์ผ่านภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ตามประกาศมาตรฐานภาษาอังกฤษฯ ( https://bit.ly/3X0pRtE )

    ประเภทการสอบ คะแนน
    1 MU-ELT 84 คะแนนขึ้นไป
    2 MU GRAD test 70 คะแนนขึ้นไป
    3 TOEIC 600 คะแนนขึ้นไป
    4 TOEFL ITP 500 คะแนนขึ้นไป (เฉพาะที่จัดสอบโดยมหาวิทยาลัยมหิดล)
    5 TOEFL iBT 64 คะแนนขึ้นไป
    6 MU-ELT* 42 คะแนนขึ้นไป (นศ.ที่มีข้อจำกัดทางการได้ยิน หรือมีข้อจำกัดในการฟังและการูด ใช้เฉพาะคะแนนด้านการอ่าน)
    7 IELTS 5.0 คะแนนขึ้นไป
    8 Duolingo Englist test 90 คะแนนขึ้นไป

     


    ‼️ สำหรับนักศึกษาใหม่ที่ไม่มีคะแนนสอบ หรือมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ‼️ มีสิทธิ์สมัครสอบ MU-ELT รอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบให้ฟรี 1 ครั้ง

    หมายเหตุ :
    1. กรณีหลักสูตรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานฯ สูงความเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาใช้คะแนนตามเกณฑ์ของหลักสูตร
    2. สำหรับนักศึกษาใหม่รหัส 66XXXXX ที่เคยยื่นคะแนนภาษาอังกฤษแล้วกรุณายื่นคะแนนใหม่อีกครั้ง

    สอบถามเพิ่มเติมในวันและเวลาราชการ
    • เรื่องการยื่นคะแนน โทร. 02-849-4571 (งานทะเบียนและประมวลผล)
    • เรื่องการสอบ MU-ELT โทร. 02-849-4591 (งานบริการการศึกษา)

    ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่เพจ กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ขอใบเสร็จรับเงินและเอกสำรประกอบการเบิกค่าเล่าเรียนได้จากที่ไหน

    A : นักศึกษาสามารถดำเนินการได้ตามรายละเอียด ดังนี้

    1. ใบเสร็จรับเงิน : นักศึกษาสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองผ่านระบบ e – Student และ e – Receipt ของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th เลือกเมนู ตรวจสอบผลการลงทะเบียนการชำระเงิน เลือกเมนู ระบบพิมพ์ใบเสร็จ (e-Receipt) หลังชำระเงินแล้ว 2 สัปดาห์
    2. เอกสารประกอบการเบิกค่าเล่าเรียน

    2.1 ใบเสร็จรับเงินที่ผู้รับเงินลงนามด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
    2.2 ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดลเรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาฯ ประจำปีการศึกษาที่ขอเบิก พร้อมหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0422.3/19480 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th เลือกเมนู ตรวจสอบผลการลงทะเบียน การชำระเงิน เลือกเมนู ระบบพิมพ์ใบเสร็จ (e-Receipt)

    คำค้น : การเบิกค่าเล่าเรียน

  • Q : ต้องการความช่วยเหลือด้าน IT สามารถติดต่อได้อย่างไร

    A : โปรดติดต่อ กองเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

    วันจันทร์ – วันศุกร์เวลา 08.00 – 18.00 น
    วันเสาร์ – วันอาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์เวลา 10.00 – 16.00 น.

    • ทางโทรศัพท์  0 2849 6022
    • ทาง E-mail สอบถามปัญหา IT ส่งมาที่ consult@mahidol.ac.th
    • ทาง E-mail สอบถามปัญหาการใช้งาน Username และ Password ส่งมาที่ account@mahidol.ac.th
  • Q : นักศึกษาปี 1 เพิ่งเข้าศึกษาปีนี้สามารถดรอปเรียนได้ไหม

    A : ต้องพิจารณาเหตุผลในการดรอปเรียน สามารถติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะที่นักศึกษาสังกัด

  • Q : อยากลาพักการศึกษา / ดรอปเรียน ต้องทําอย่างไร

    A : หากนักศึกษาต้องการลาพักการศึกษา / ดรอปเรียน สามารถติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะที่นักศึกษาสังกัด

  • Q : ทำไมบางคนมีการปรับระดับหรือลดรายวิชาแล้ว บางคนผลการลงทะเบียนยังเหมือนเดิม

    A : เจ้าหน้าที่กำลังทยอยอัปเดต สามารถตรวจสอบได้อีกครั้งเมื่อถึงกำหนดการลงทะเบียนของปี 1

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : เมื่อจัดระดับตามคะแนนภาษาอังกฤษแล้วต้องทำอย่างไรต่อไป

    A : การดำเนิการแบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้

    • แบบที่ 1 อยู่ระดับเดียวกันกับที่คณะลงทะเบียนให้ : นักศึกษาไม่ต้องดำเนินการอะไร
    • แบบที่ 2 อยู่ระดับที่สูงหรือต่ำกว่าระดับที่คณะลงทะเบียนให้ : ระบบจะปรับระดับใน Smartedu ให้อัตโนมัติ นักศึกษาไม่ต้องดำเนินการอะไร
    • แบบที่ 3 คะแนนจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องเรียน Advanced English : นักศึกษาต้อง “ลดรายวิชา” LAEN xxx (3 หน่วยกิต) ออกก่อน แล้วจึงลงทะเบียน “เพิ่มรายวิชา” ในกลุ่ม Advanced English (3 หน่วยกิต) ภายในระยะเวลาที่กำหนด

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ถ้าเลเวลหรือระดับที่เรียนไม่ตรงกับใบเสร็จเป็นอะไรไหม

    A : ไม่เป็นไร ขอให้ตรงกับผลการลงทะเบียนก็พอ

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

     

     

  • Q : ต้องเรียนตามเลเวลหรือระดับที่ปรากฎในใบเสร็จใช่หรือไม่

    A : ไม่ใช่ ต้องรอจัดระดับโดยใช้คะแนนภาษาอังกฤษจาก MU-ELT หรือคะแนนอื่นๆ ก่อน

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ทำไมในใบเสร็จค่าเทอมจึงมีวิชาภาษาอังกฤษอยู่แล้ว

    A : เป็นการลงทะเบียนแบบ “แพคเกจ” ไว้ให้สำหรับนศ.ปี 1 เทอม 1 จะได้ทราบว่าต้องเรียนอะไร

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ยื่นคะแนนภาษาอังกฤษอย่างไร

    A : ตามประกาศ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีฯ พ.ศ. 2564 กำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาต้องได้รับมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษตามที่กำหนดก่อนจบการศึกษา

    โดยสามารถทำการยื่นคะแนนภาษาอังกฤษได้ในระบบ Smartedu ตามขั้นตอน ดังนี้

    1. Login เข้าสู่ระบบ Smartedu
    2. เลือกรายการ “ระบบคะแนนภาษาอังกฤษ”
    3. เลือก “ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ”
    4. เลือก “กรอกข้อมูลคะแนนการสอบ”
    5. ใส่ข้อมูลที่กำหนดแล้วกด “บันทึก”

    หมายเหตุ:

    1. สำหนักนักศึกษาที่มีผลการสอบ MU-ELT และผู้ที่ผ่านการเรียน Intensive English Courses ไม่ต้องยื่นคะแนนผ่านระบบ Smartedu
    2. สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ให้ปฏิบัติการตามประกาศส่วนงาน

    ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม งานทะเบียนและประมวลผล กองบริหารการศึกษา : โทร. 02 849 4571

  • Q : กรณีต้องเรียน Advanced English จะเลือกกลุ่มเรียน (sec) และจัดตารางอย่างไร

    A : เลือกกลุ่มเรียนในช่วงเวลาที่ไม่ซ้อนกับวิชามมศท และวิชาภาษาไทย

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : กรณียังไม่มีคะแนนภาษาอังกฤษต้องทำอย่างไร

    A : สมัครสอบ MU-ELT รอบเพิ่มเติม รอประกาศผลคะแนนและผลการจัดกลุ่มเรียน แล้วจึงลงทะเบียนเรียนในกลุ่มที่ 2 ติดตามข้อมูลได้ที่ https://op.mahidol.ac.th/ea/english

     

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : รายวิชาภาษาอังกฤษหายไปจากรายการรายวิชาที่ลงทะเบียน

    A : ให้ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งในช่วงกำหนดลงทะเบียน และหากพบปัญหา สามารถสอบถามได้ที่ทางเพจกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : การจัดสอบ MU-ELT จะมีสอบกี่ครั้ง

    A :  คณะศิลปศาสตร์จะจัดให้มีการสอบ MU-ELT ปีละ 3-4 ครั้ง ติดตามได้ทางเว็บไซต์ของคณะศิลปศาสตร์ https://la.mahidol.ac.th/th/mu-elt และเฟสบุ๊ค www.facebook.com/LiberalArts.Mahidol

    ติดต่อ: ศูนย์ทดสอบภาษาและพัฒนาทักษะทางวิชาการ
    Center for Assessment and Academic Services

    Tel: 02-4414401-8 ต่อ 1110,1106,1730 หรือ 064-4382250
    Facebook: https://www.facebook.com/MULA.CAAS
    Email: mula.caas@gmail.com
    Line: @574cnrgk

  • Q : อยากทราบปฏิทินการศึกษาและกิจกรรมนักศึกษาสามารถดูรายละเอียดได้ที่ไหน

    A : นักศึกษาสามารถดูรายละเอียดปฏิทินการศึกษาและกิจกรรมนักศึกษาได้ที่ลิ้งค์นี้ https://mustudent.mahidol.ac.th/events

    ปฏิทินการศึกษาและกิจกรรมนักศึกษา เช่น

    • วันรับบัตรประจําตัวนักศึกษา
    • วันเปิดเรียนภาคการศึกษา
    • วันปิดภาคการศึกษา
    • วันพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ระดับมหาวิทยาลัย
    • วันลงทะเบียนเรียน วิชาศึกษาทั่วไป วิชาเลือกเสรีและ วิชา Advance English ในระบบออนไลน์
    • วันสอบ
    • วันประกาศผลสอบประจำภาค
    • วันลงทะเบียนสมัครสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษ (MU-ELT)
  • Q : กำหนดการลงทะเบียนเรียนเมื่อไหร่ และมีค่าปรับการลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนดอย่างไร

    A : นักศึกษาสามารถดูกำหนดการลงทะเบียน ภาคการศึกษาต้น, ภาคการศึกษาปลาย, ภาคการศึกษาฤดูร้อน และค่าปรับการลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนด ได้ที่เว็บไซต์ https://mustudent.mahidol.ac.th/registration_schedule


    มีคำถามหรือข้อสงสัย

    • ติดต่ออาจารย์ผู้สอนได้จากเบอร์โทรศัพท์/อีเมลในตารางรายวิชา PDF  หรือ
    • ติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะ ได้ที่เว็บไซต์ >> Click   หรือ
    • ติดต่อกองบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัย ที่เบอร์โทร. 02-849-4562, 63, 65, 67 ในวันและเวลาราชการ หรือ ทางเพจ https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA
  • Q : ตรวจสอบตารางสอน เวลาเรียน จำนวนรับ และรูปแบบ/แพลตฟอร์มที่ใช้จัดการเรียนการสอนได้ที่ไหน

    A : คลิกหัวข้อ “รายวิชาศึกษาทั่วไป” ในเว็บไซต์ https://smartedu.mahidol.ac.th หรือ ติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะที่สังกัด

    ช่องทางการติดต่อด้านการศึกษาของส่วนงาน >> Click


    มีคำถามหรือข้อสงสัย

    • ติดต่ออาจารย์ผู้สอนได้จากเบอร์โทรศัพท์/อีเมลในตารางรายวิชา PDF  หรือ
    • ติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะ ได้ที่เว็บไซต์ >> Click   หรือ
    • ติดต่อกองบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัย ที่เบอร์โทร. 02-849-4562, 63, 65, 67 ในวันและเวลาราชการ หรือ ทางเพจ https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA
  • Q : เกณฑ์คะแนนมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษามหิดล ระดับปริญญาตรี ต้องมีคะแนนเท่าไหร่

    A : เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานความรู้ด้านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจะต้องมีเกณฑ์ผ่านภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ตามประกาศมาตรฐานภาษาอังกฤษฯ ( https://bit.ly/3X0pRtE )

    ประเภทการสอบ คะแนน
    1 MU-ELT 84 คะแนนขึ้นไป
    2 MU GRAD test 70 คะแนนขึ้นไป
    3 TOEIC 600 คะแนนขึ้นไป
    4 TOEFL ITP 500 คะแนนขึ้นไป (เฉพาะที่จัดสอบโดยมหาวิทยาลัยมหิดล)
    5 TOEFL iBT 64 คะแนนขึ้นไป
    6 MU-ELT* 42 คะแนนขึ้นไป (นศ.ที่มีข้อจำกัดทางการได้ยิน หรือมีข้อจำกัดในการฟังและการูด ใช้เฉพาะคะแนนด้านการอ่าน)
    7 IELTS 5.0 คะแนนขึ้นไป
    8 Duolingo Englist test 90 คะแนนขึ้นไป

     


    ‼️ สำหรับนักศึกษาใหม่ที่ไม่มีคะแนนสอบ หรือมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ‼️ มีสิทธิ์สมัครสอบ MU-ELT รอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบให้ฟรี 1 ครั้ง

    หมายเหตุ :
    1. กรณีหลักสูตรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานฯ สูงความเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาใช้คะแนนตามเกณฑ์ของหลักสูตร
    2. สำหรับนักศึกษาใหม่รหัส 66XXXXX ที่เคยยื่นคะแนนภาษาอังกฤษแล้วกรุณายื่นคะแนนใหม่อีกครั้ง

    สอบถามเพิ่มเติมในวันและเวลาราชการ
    • เรื่องการยื่นคะแนน โทร. 02-849-4571 (งานทะเบียนและประมวลผล)
    • เรื่องการสอบ MU-ELT โทร. 02-849-4591 (งานบริการการศึกษา)

    ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่เพจ กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ขอใบเสร็จรับเงินและเอกสำรประกอบการเบิกค่าเล่าเรียนได้จากที่ไหน

    A : นักศึกษาสามารถดำเนินการได้ตามรายละเอียด ดังนี้

    1. ใบเสร็จรับเงิน : นักศึกษาสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองผ่านระบบ e – Student และ e – Receipt ของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th เลือกเมนู ตรวจสอบผลการลงทะเบียนการชำระเงิน เลือกเมนู ระบบพิมพ์ใบเสร็จ (e-Receipt) หลังชำระเงินแล้ว 2 สัปดาห์
    2. เอกสารประกอบการเบิกค่าเล่าเรียน

    2.1 ใบเสร็จรับเงินที่ผู้รับเงินลงนามด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
    2.2 ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดลเรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาฯ ประจำปีการศึกษาที่ขอเบิก พร้อมหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0422.3/19480 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th เลือกเมนู ตรวจสอบผลการลงทะเบียน การชำระเงิน เลือกเมนู ระบบพิมพ์ใบเสร็จ (e-Receipt)

    คำค้น : การเบิกค่าเล่าเรียน

  • Q : นักศึกษายื่นคำขอกู้ยืมเงิน แต่ไม่สามารถเลือกคณะและหลักสูตรได้ ต้องดำเนินการอย่างไร

    A : สำหรับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ดำเนินการในระบบ DSL แต่ไม่สามารถเลือกคณะและหลักสูตรได้นั้น นักศึกษาจะยื่นกู้ยืมได้เมื่อสถานศึกษาได้บันทึกค่าใช้จ่ายตามหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว

  • Q : การกรอกวงเงินในระบบใหม่ ค่าเล่าเรียนต้องรวมค่าครองชีพหรือไม่ เนื่องจากไม่พบช่องให้กรอกค่าครองชีพ

    A : สำหรับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ดำเนินการในระบบ DSL ระบบใหม่ให้กรอกเฉพาะค่าเล่าเรียน โดยไม่ต้องกรอกค่าครองชีพ เนื่องจากค่าครองชีพระบบจะคำนวณให้โดยอัตโนมัติ หากนักศึกษาประสงค์จะกู้ยืมค่าครองชีพ

  • Q : กรณีมีข้อความแจ้งเตือนว่า "ไม่สามารถดำเนินการได้ ไม่พบค่าใช้จ่ายตามหลักสูตร"

    A : สำหรับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ดำเนินการในระบบ DSL มีข้อความแจ้งเตือนว่า “ไม่สามารถดำเนินการได้ ไม่พบค่าใช้จ่ายตามหลักสูตร” เนื่องจากสถานศึกษายังไม่ได้บันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายตามหลักสูตรของหลักสูตรนั้นๆ ดังนั้นจึงต้องรอให้ทางคณะหลักสูตรนั้นๆ ทำการบันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายตามหลักสูตรให้เรียบร้อยก่อน

  • Q : การรับรองรายได้กรณีใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถแนบเอกสารในระบบ DSL ได้หรือไม่

    A : สำหรับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สามารถแนบเอกสารในระบบ DSL ได้ตามปกติ

  • Q : สำหรับนักศึกษาใหม่หากยังไม่ได้รับรหัสนักศึกษาจะสามารถยื่นคำขอกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้หรือไม่

    A : หากนักศึกษายังไม่ได้รับรหัสนักศึกษา จะยังไม่สามารถยื่นคำขอกู้ยืมเงินได้ เนื่องจากในขั้นตอนการยื่นคำขอกู้ยืมเงินระบบกำหนดให้นักศึกาาต้องกรอกรหัสนักศึกษาด้วย

  • Q : ในกรณีที่นักศึกษากรอกรหัสนักศึกษาผ่านระบบ DSL ไม่ถูกต้อง สามารถแก้ไขได้อย่างไร

    A : การแก้ไขรหัสนักศึกษาในระบบ DSL สามารถดำเนินการได้ดังนี้

    1. ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ยื่นกู้และยังไม่ได้ยืนยันข้อมูลแบบคำขอกู้ยืมส่งไปที่สถานศึษา ผู้กู้ยืมเงินสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
    2. หากผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ส่งคำขอกู้ยืมไปที่สถานศึกาาแล้ว สถานศึกษาสามารถแก้ไขรหัสนักศึกษาได้ โดยใช้รหัสผู้ตรวจสอบรายการ (checker)
  • Q : กรณีนักศึกษาผู้กู้ยืมรายเก่าจากสถานศึกษาอื่น ได้ขอกู้ยืมในสถานศึกษาใหม่ และแอพพลิเคชั่น "กยศ. Connect" ของนักศึกษาแจ้งว่า "ไม่สามารถดำเนินการ เนื่องจากไม่พบข้อมูลรายงานสถานภาพ ติดต่อสถานศึกษา" นักศึกษาต้องดำเนินการอย่างไร

    A : นักศึกษาต้องติดต่อสถานศึกษาเดิม เพื่อแจ้งให้สถานศึกษาเดิมดำเนินการรายงานสถานภาพของนักศึกาาในระบบ DSL ให้เรียบร้อย

  • Q : ในกรณีที่นักศึกษาต้องการย้ายสถานศึกษาและประสงค์ทำการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กับสถานศึกษาใหม่ จะสามารถทำได้หรือไม่ และจะต้องทำอย่างไรบ้าง

    A : การกู้ยืมใหม่สามารถยื่นเรื่องขอกู้ยืมกับสถานศึกษาแห่งใหม่ผ่านระบบ e-studentloan ได้โดยสถานศึกษาแห่งใหม่จะเป็นผู้พิจารณา แต่จำนวนปีในการกู้ยืมจะถูกหักออกไปตามจำนวนปีที่เคยกู้ยืมมาก่อน เช่น หลักสูตร 4 ปีจะกู้ได้แค่ 3 ปี เท่านั้น

  • Q : ในเทอมที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ไม่ได้ขอกู้ยืมค่าครองชีพ แต่ในเทอมที่ 2 ต้องการกู้ยืมค่าครองชีพได้หรือไม่

    A : ไม่สามารถกู้ยืมได้ เนื่องจากผู้กู้ยืมจะต้องแสดงความประสงค์ขอกู้ยืมค่าครองชีพไว้ เมื่อตอนยื่นใบคำขอกู้ยืม/แบบยืนยัน

  • Q : ในกรณีที่นักศึกษากู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เทอมที่ 1 และไม่ต้องการกู้ยืมเงินต่อในเทอมที่ 2 จะต้องทำอย่างไร และจะสามารถกู้ยืมในปีถัดไปได้หรือไม่

    A : ในกรณีที่ไม่ต้องการกู้ยืมต่อในเทอมที่ 2

    1. ไม่ต้องเข้าไปยืนยันการขอกู้ยืมในเทอมที่ 2
    2. นักศึกษาต้องมาเขียนแบบรายงานสภาพการศึกษา (กยศ.204 แบบรายงานสถานภาพการศึกษา) กับกองกิจการนักศึกษา
      ผู้กู้ยืมต้องการกู้ยืมในปีการศึกษาถัดไป สามารถดำเนินการเข้ายืนยันการกู้ยืม โดยมีสถานะเป็นผู้กู้ต่อเนื่องม.มหิดล เลื่อนชั้นปี และดำเนินการตามขั้นตอนในประกาศ
  • Q : ผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กรณีที่ไม่ใช่บิดามารดามีการกำหนดคุณสมบัติหรือไม่

    A : ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ มีความสามารถในการทำนิติกรรม และมีความประสงค์จะรับผิดขอบชำระหนี้แทนผู้กู้ยืมหากผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้

  • Q : กรณีนักเรียน นักศึกษา ที่ยื่นคำขอกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เรียบร้อยแล้ว ภายหลังต้องการเปลี่ยนสถานศึกษาต้องทำอย่างไร

    A : นักเรียน นักศึกษาต้องตรวจสอบสถานะการกู้ยืมของตนเองก่อน ซึ่งหากสถานศึกษาเดิมยังไม่ได้ดำเนินการขั้นตอนต่างๆในระบบ นักเรียน นักศึกษาสามารถยกเลิกได้ด้วยตนเอง แต่หากได้ดำเนินการแล้วให้เร่งแจ้งกับสถานศึกษายกเลิกการกู้ยืมเงินของตนเองโดยเร็ว เพื่อที่จะสามารถยื่นขอกู้ยืมเงินกับสถานศึกษาใหม่ ได้ภายในระยะเวลาที่กองทุนกำหนด

  • Q : ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ลืมรหัสผ่านหรือถูกระงับบัญชีเข้าใช้ระบบ DSL ต้องทำอย่างไร

    A :

    • กรณีผู้ใช้ถูกระงับบัญชี หรือลืมรหัสผ่าน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ … คลิก
    • หากท่านมีความประสงค์เปลี่ยนแปลง / แก้ไขเบอร์โทรศัพท์ ที่ใช้ในการลงทะเบียน ช่องทาง Mobile Application “กยศ. Connect”  หรือช่องทางเว็บไซต์  https://wsa.dsl.studentloan.or.th ขอให้ทำหนังสือถึงกองทุนเพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ในการลงทะเบียน กยศ.Connect พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนชน (รับรองสำเนาถูกต้อง) โดยจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เข้ามาตามที่อยู่กองทุนหรือส่งเอกสารไฟล์ .pdf ทางอีเมล info@studentloan.or.th
  • Q : ยื่นแบบคำขอกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แล้วแต่ต้องการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาได้หรือไม่ จะต้องทำอย่างไร

    A : ผู้กู้ยืมจะต้องยกเลิกแบบคำขอกู้ยืมผ่านระบบออนไลน์ก่อน จึงจะยื่นขอกู้ยืมใหม่ได้  แต่ถ้าสถานศึกษานั้นๆ มีการบันทึกกรอบวงเงินและอนุมัติสัญญาแล้ว สถานศึกษาเก่าต้องยกเลิกสัญญากู้ยืมผ่านระบบ e-Studentloan  และส่งแบบยกเลิกสัญญาให้กับธนาคารในปีนั้นๆ  แล้ว จึงสามารถขอยื่นกู้ยืม ณ สถานศึกษาแห่งใหม่ โดยไม่เสียสิทธิการกู้ในปีนั้น

  • Q : บิดา มารดาของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นผู้มีรายได้ประจำต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือนรับรองรายได้ประกอบอีกด้วยหรือไม่

    A : ไม่ต้องใช้หนังสือรับรองรายได้

    • หนังสือรับรองรายได้ จะใช้ในกรณีที่ไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือนจากต้นสังกัด
  • Q : นักเรียน/นักศึกษาที่มิได้มีการลงทะเบียนเรียน ในเทอมนั้นๆ จะสามารถยื่นเรื่องขอกู้ยืมค่าครองชีพของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้หรือไม่

    A : ไม่ได้ ผู้ที่จะมีสิทธิกู้ยืมจะต้องมีสถานะศึกษาอยู่เท่านั้น

  • Q : ในกรณีที่นักเรียน/นักศึกษาไม่ได้ยื่นเรื่องกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในเทอมที่ 1 แต่ต้องการขอกู้ยืมในเทอมที่ 2 จะทำได้หรือไม่

    A : ไม่ได้ ผู้กู้ยืมจะต้องยื่นขอกู้ยืมผ่านระบบ e-studentloan ตั้งแต่เทอม 1 เป็นต้นไป

  • Q : กรณีผู้กู้ยืมเป็นบุตรข้าราชการหรือประกอบอาชีพอื่นๆ ซึ่งมีรายได้เกิน 360,000 บาท/ปี แต่มีภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆ เมื่อหักลบแล้วน้อยกว่า 360,000 บาท/ปี จะมีสิทธิกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือไม่

    A : การพิจารณารายได้ต่อครอบครัว ให้พิจารณาจากรายได้รวมทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่สามารถนำรายจ่ายอื่นๆ มาหักลบ

  • Q : บุคคลใดเป็นผู้รับรองรายได้สำหรับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้บ้าง

    A :

    1. กรณีมีรายได้ประจำ ใช้สลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วยงาน (ผู้มีอำนาจของหน่วยงานลงนาม) การกรอกรายได้ต้องระบุให้ตรงกับหลักฐานที่แนบและตรงกับข้อมูลที่บันทึกในระบบ
    2. กรณีไม่มีรายได้ประจำ ใช้แบบฟอร์ม กยศ. 102
    – การกรอกรายได้ต้องระบุข้อมูลให้ตรงกับหนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (กยศ.102) และข้อมูลที่บันทึกในระบบ
    – สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการ/เอกสารอื่นใดรับรองว่าเป็นข้าราชการจากหน่วยงานที่ผู้รับรองได้สังกัด เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น
  • Q : นักเรียน/นักศึกษา มีสิทธิ์กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อการศึกษาได้ทุกคนหรือไม่

    A : กองทุนมีวัตถุประสงค์สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในลักษณะต่างๆ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงระดับปริญญาตรี เป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ ไม่เกินขอบเขตการให้เงินกู้ยืมที่กองทุนกำหนด ซึ่งนักเรียน/นักศึกษาที่จะกู้ยืมเงินดังกล่าว จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎ ระเบียบ ประกาศและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กองทุนกำหนด

    ทั้งนี้ ขอให้ศึกษาข้อมูลการกู้ยืมเงินลักษณะต่าง ๆ จากเว็บไซต์ของกองทุน ที่  https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1595218254

  • Q : อยากทราบช่วงเวลาการขอทุนการศึกษาสามารถยื่นขอได้เมื่อไหร่

    A : ในแต่ละทุนการศึกษานั้น มีช่วงเวลาการรับสมัครแตกต่างกัน โดยมีข้อมูลดังนี้

    ลำดับ ประเภททุน ระยะเวลา
    1 ทุนการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ระดับปริญญาตรี ก.ค. – ก.ย.
    2 ทุนสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ต.ค. – พ.ย.
    3 ทุนภูมิพล มิ.ย. – ส.ค.
    4 ทุนมหิดลวิทยาจารย์ ต.ค. – พ.ย.
    5 ทุนฉุกเฉินมหาวิทยาลัย ม.ค. – ธ.ค.
    6 ทุนช่วยเหลือพิเศษ (มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล) ม.ค. – ธ.ค.
    7 ทุนนักศึกษาช่วยงาน (กองกิจการนักศึกษา) มี.ค. – พ.ค.
    8 ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการ มิ.ย. – ส.ค.
    9 กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เม.ย. – ส.ค.

    สามารถดูรายละเอียดข้อมูลทุนการศึกษาทั้งหมดได้ที่ >  กดคลิก

    นักศึกษาสามารถติดตามข่าวสาร/ประกาศการรับสมัครทุนการศึกษา ได้ที่เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา https://op.mahidol.ac.th/sa/newsscholarship

  • Q : หากต้องการขอทุน ทางมหาวิทยาลัยมหิดลมีทุนการศึกษาอะไรบ้าง

    A : หากนักศึกษาต้องการขอทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลก็มีทุนการศึกษาให้ โดยมีรายละเอียดทุนต่าง ๆ ดังนี้

    1. ทุนสนับสนุนการศึกษา ได้แก่ ทุนขาดแคลนทุนทรัพย์, ทุนสมาคมศิษย์เก่า, ทุนจากแหล่งทุนภายนอก, ทุนนักศึกษาพิการ, ทุนภูมิพล, ทุนมหิดลวิทยาจารย์
    2. ทุนสนับสนุนการศึกษาของคณะ
    3. ทุนช่วยเหลือและสนับสนุน ได้แก่ ทุนฉุกเฉิน, เงินยืม (ไม่มีดอกเบี้ย), ทุนช่วยเหลือพิเศษ (มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล)
    4. ทุนสวัสดิการ ได้แก่ ทุนนักศึกษาช่วยงาน, ทุนอาหารกลางวัน
    5. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

    สามารถดูรายละเอียดข้อมูลทุนการศึกษาทั้งหมดได้ที่ >  กดคลิก

    นักศึกษาสามารถติดตามข่าวสาร/ประกาศการรับสมัครทุนการศึกษา ได้ที่เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา https://op.mahidol.ac.th/sa/newsscholarship

  • Q : ทุนภายนอกคืออะไร

    A : เป็นเงินทุนจากแหล่งทุนภายนอก ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ / ธนาคาร / บริษัท / ห้างร้าน / มูลนิธิฯ / องค์กรการสาธารณะกุศล และผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยดำเนินการตามความประสงค์ของเจ้าของทุน เช่น คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ขอรับทุน ซึ่งนักศึกษาสามารถติดตามได้จากบอร์ดประชาสัมพันธ์ที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะ/วิทยาลัย หรือเว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา (https://op.mahidol.ac.th/sa/)

  • Q : ถ้าต้องการทราบแหล่งการเข้าถึงข้อมูลทุนภายนอกสามารถสืบค้นได้ที่ไหน

    A : เป็นเงินทุนจากแหล่งทุนภายนอก ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ / ธนาคาร / บริษัท / ห้างร้าน / มูลนิธิฯ / องค์กรการสาธารณะกุศล และผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยดำเนินการตามความประสงค์ของเจ้าของทุน เช่น คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ขอรับทุน ซึ่งนักศึกษาสามารถติดตามได้จากบอร์ดประชาสัมพันธ์ที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะ/วิทยาลัย หรือเว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา (https://op.mahidol.ac.th/sa/)

  • Q : ช่วงเวลาในการสมัครขอรับทุนภายนอกและคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นอย่างไร

    A : นักศึกษาสามารถดูข้อมูลรายละเอียด ดังนี้

    • การสมัครขอรับทุนภายนอก จะมีช่วงเวลาการรับสมัครไม่ตรงกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละทุนการศึกษา
    • คุณสมบัติของผู้สมัครจะขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าของทุนการศึกษาซึ่งนักศึกษาที่สนใจสมัครขอรับทุนการศึกษา สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร/ รายละเอียด ได้ที่ https://op.mahidol.ac.th/sa/ และ Facebook : กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Q : ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เลขที่บัญชี จะต้องทำอย่างไร

    A : ใช้แบบฟอร์ม กยศ.108 (ดาวน์โหลดที่เว็บไชต์ : กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือมาติดต่อที่กองกิจการนักศึกษา) กรอกรายละเอียดให้ถูกต้อง พร้อมเอกสารแนบที่เกี่ยวข้อง เช่น

    1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    2. สำเนาหนังสือการเปลี่ยนชื่อ
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน
    4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
      *สำเนาเอกสารทุกฉบับ ต้องรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้กู้ยืม (บมจ.ธนาคารกรุงไทย และ/หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย)
  • Q : ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สามารถตรวจสอบยอดหนี้ด้วยตนเองได้ที่ไหน

    A : ผู้กู้สามารถตรวจสอบยอดหนี้ด้วยตนเอง ที่เมนู ตรวจสอบยอดหนี้ ที่ www.studentloan.or.th

  • Q : การเก็บจำนวนชั่วโมงจิตอาสา สามารถเก็บได้ถึงวันที่เท่าไหร่ เพื่อยื่นกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในปีการศึกษาถัดไป

    A : AT จิตอาสาที่นำมาขอกู้ยืมในปีถัดไป สามารถเก็บได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน ของปีการศึกษาก่อนขอกู้ยืม

  • Q : ต้องการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปี 2566 สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ และผู้กู้รายเก่าจากมัธยมปลาย/สถาบันอื่น (ระดับปริญญาตรี) ต้องดำเนินการอย่างไร

    A : นศ.ศึกษารายละเอียดตาม กำหนดการกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566 สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ และผู้กู้รายเก่าจากมัธยมปลาย/สถาบันอื่น (ระดับปริญญาตรี) ได้ที่นี่ กดดูเอกสาร

    ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาที่เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://op.mahidol.ac.th/sa/category/Announce


    ติดต่อสอบถามได้ในวันเวลาราชการ
    โทร: 0-2849-4656 และ 0-2849-4514
    Line OpenChat กยศ.มหาวิทยาลัยมหิดล: MUSL scholarship
    หมายเหตุ: ขอเข้ากลุ่มและตั้งชื่อในกลุ่มด้วย ตัวย่อคณะตามด้วยรหัสนักศึกษา ตัวอย่าง ss6512345

  • Q : ต้องการกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566 สำหรับผู้กู้ยืมต่อเนื่อง (เลื่อนชั้นปี) ต้องดำเนินการอย่างไร

    A : นศ.สามารถอ่านรายละเอียด กำหนดการกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566 สำหรับผู้กู้ยืมต่อเนื่อง (เลื่อนชั้นปี) ได้ที่นี่ กดดูเอกสาร

    ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาที่เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://op.mahidol.ac.th/sa/category/Announce


    ติดต่อสอบถามได้ในวันเวลาราชการ
    โทร: 0-2849-4656 และ 0-2849-4514
    Line OpenChat กยศ.มหาวิทยาลัยมหิดล: MUSL scholarship
    หมายเหตุ: ขอเข้ากลุ่มและตั้งชื่อในกลุ่มด้วย ตัวย่อคณะตามด้วยรหัสนักศึกษา ตัวอย่าง ss6512345

  • Q : หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) ตั้งอยู่ตรงไหน การเดินทางและอาหารการกิน สะดวกหรือไม่

    A : หอพักตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัย  มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ใกล้ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ใกล้โรงอาหาร ใกล้สนามกีฬา ใกล้ร้านสะดวกซื้อ  ใกล้สถานีรถราง/สถานี Bus Terminal การเดินทางสะดวกสบายแน่นอนค่ะ

  • Q : ภายในห้องพักของหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีเฟอร์นิเจอร์อะไรให้บ้าง

    A : ทางหอพักได้จัดเตรียมเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องพักให้น้อง ๆ คนละ 1 ชุด ดังนี้ เตียง ฟูกขนาด 3.5 ฟุต ตู้เสื้อผ้า โต๊ะอ่านหนังสือ และเก้าอี้

  • Q : หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางอะไรบ้าง

    A : ตู้กดน้ำร้อน/น้ำเย็น ไมโครเวฟ ตู้เย็น ห้องอ่านหนังสือ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ อินเทอร์เน็ตไร้สาย (Free Wi-Fi) ลานออกกำลังกายกลางแจ้ง ห้องรักษาพยาบาล ระบบสแกนบัตรเข้า-ออกอาคาร กล้องวงจรปิด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง

  • Q : หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีเครื่องปรับอากาศไหม

    A : ห้องพักทุกประเภทของบ้านมหิดลไม่มีเครื่องปรับอากาศค่ะ

  • Q : หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) ปลอดภัยหรือไม่

    A : หอพักของเราตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัย มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำอาคารหอพักทุกอาคาร ตลอด 24 ชั่วโมง มีการเดินตรวจตราทุก ๆ ชั่วโมง พร้อมกล้องวงจรปิดบริเวณรอบหอพัก  มีการเข้า-ออกอาคารหอพักด้วยระบบสแกนบัตร ปลอดภัยแน่นอนค่ะ  

  • Q : หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีพื้นที่ส่วนกลางหรือไม่ อะไรบ้าง

    A : ทางหอพักมีพื้นที่ส่วนกลางให้น้อง ๆ นั่งเล่น พักผ่อน และอ่านหนังสือ ซึ่งจะมีอยู่ในทุกอาคารหอพัก รวมถึงยังมีเรือนกิจกรรม (Co-Working Space) พร้อมระบบเครื่องปรับอากาศ ให้น้อง ๆ ได้เข้าใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

  • Q : ทางหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีช่างบริการซ่อมแซมเวลาของชำรุดในห้องพักหรือไม่

    A : ทางหอพักบ้านมหิดล มีช่างดูแล บำรุงรักษาทุกอาคาร  โดยหากมีอุปกรณ์ในหอพักชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ น้องสามารถแจ้งซ่อมได้ที่สำนักงานได้เลยค่ะ  ทางหอพักยินดีแก้ไขให้ใช้งานได้โดยเร็วที่สุด

    นักศึกษาสามารถติดต่อผ่านทางช่องทางได้ ดังนี้

  • Q : เวลาเปิด-ปิด หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล)

    A : ประตูเข้าออกบ้านมหิดลเปิดเวลา 05.00 น. และปิดเวลา 23.00 น.  โดยทางหอพักอาจมีการปรับช่วงเวลาเปิด-ปิดให้สอดคล้องกับกิจกรรมของนักศึกษา เช่น ช่วงอ่านหนังสือสอบ เป็นต้น

  • Q : รูมเมททางหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) จะจัดให้ใช่ไหม

    A : ระบบจะทำการสุ่มรูมเมทให้กับนักศึกษา โดยจะจัดให้คณะเดียวกันอยู่ด้วยกันค่ะ

  • Q : เข้าหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง

    A : สิ่งของนักศึกษาทุกคนควรจะเตรียมเพิ่มเติมในการเข้าอยู่ในหอพักบ้านมหิดล ได้แก่

    • รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
    • ผ้าปูที่นอน ขนาด 3½ x 3½ x 6 ฟุต ผ้าห่ม , หมอน ,ปลอกหมอน
    • แม่กุญแจ สำหรับคล้องตู้เสื้อผ้า จำนวน 2 ชุด
    • ของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ที่จำเป็น
  • Q : ในการเข้าพักที่หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีระบบคัดกรองหรือสิทธิพิเศษสำหรับนักศึกษาต่างจังหวัดหรือไม่

    A : ไม่มีค่ะ นักศึกษาทุกคนจะต้องทำการจองหอพักพร้อมกัน ผ่านระบบออนไลน์ SMARTEDU : https://smartedu.mahidol.ac.th/Authen/login.aspx

  • Q : ถ้าต้องการติดต่อเจ้าหน้าที่หอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) ต้องไปที่จุดใด

    A : เนื่องจากปัจจุบันงานหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) มีการรวมสำนักงานหอพักไว้ที่จุดเดียว ซึ่งน้องๆ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ ได้ที่สำนักงานบ้านศรีตรัง (หอ11)  เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 23.00 น. หรือโทรสายด่วน 066-1045599

    • หมายเหตุ : อาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลาการให้บริการในช่วงปิดภาคเรียน
  • Q : ช่องทางการติดต่อหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล)

    A : นักศึกษาสามารถติดต่อผ่านทางช่องทางได้ ดังนี้

  • Q : ขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาได้ที่ไหน

    A : นักศึกษาสามารถขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาได้ทั้งรูปแบบ Online ผ่าน link : http://tiny.cc/MU-Onestopservice และ Walk-in ณ ชั้น 4 กองบริหารการศึกษา ตึก MLC ม.มหิดล ศาลายา

    ผู้ขอรับบริการสามารถยื่นขอเอกสารสำคัญผ่านช่องทาง Online ได้ 24 ชั่วโมง  และสามารถเลือกได้ว่าจะมารับเอง หรือจะให้จัดส่งไปรษณีย์ EMS ไปยังที่อยู่ปลายทางก็ได้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    เอกสารสำคัญทางการศึกษา
    สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สำหรับศิษย์เก่าระดับปริญญาตรี สำหรับศิษย์เก่าระดับปริญญาโท/เอก
    • ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) • ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript/Digital Transcript) • ใบแทนปริญญาบัตร กรณีสูญหาย/ชำรุด
    • ใบรับรองการเป็นนักศึกษา (Certificate) • ใบรับรองคุณวุฒิ (Certificate) • ใบแปลปริญญาบัตร (Translate)
    • คำอธิบายรายวิชา (Course Information) • ใบรับรองตัวสะกด (Spelling Certificate) • ใบรับรองตัวสะกด (Spelling Certificate)
    • การแก้ไขข้อมูลนักศึกษาปัจจุบัน (เบื้องต้น) • ใบแทนปริญญาบัตร กรณีสูญหาย/ชำรุด (Testimonial)
    • ทำบัตรนักศึกษา (กรณีสูญหาย/ชำรุด) • ใบแปลปริญญาบัตร (Translate)
    หมายเหตุ
    – นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ กรุณาติดต่อหน่วยงานต้นสังกัด
    – นักศึกษาวิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ สามารถขอใบแสดลผลการศึกษาได้ที่หน่วยงานต้นสังกัด

    One Stop Service
    เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา

    สถานที่ตั้ง : ชั้น 4 กองบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    โทร: 02 849 4551 หรือ อีเมล onestopservice@mahidol.edu

    (** เบอร์ One Stop Service มีคู่สายเดียว ในบางครั้งจึงไม่สามารถให้บริการทุกท่านได้อย่างเต็มที่ หากติดต่อแล้วไม่มีคนรับสาย กรุณารอ 10 นาที เพื่อติดต่ออีกครั้งค่ะ หรือแจ้งรายละเอียดทางอีเมลได้ทันที)

    ทั้งนี้ : การติดต่อ One Stop Service ทุถกครั้ง กรุณาแจ้งรหัสนักศึกษา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการทำรายการค่ะ

    หมายเหตุ:

    • สำหรับผู้ที่เลือกมารับเอกสารด้วยตัวเอง สามารถมารับได้ในวัน – เวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. (ปิดพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น.) ณ ห้อง MUSAIS ชั้น 1 ตึก MLC ม.มหิดล ศาลายา
    • สำหรับการแก้ไขข้อมูลนักศึกษา (เบื้องต้น) หมายถึงการแก้ไขตัวสะกดเท่านั้น
    • Trick พิเศษ!!!! แนะนำให้ผู้ขอรับบริการ ขอผ่านช่องทาง Online เข้ามาก่อน แล้วค่อย Walk-in มารับเอกสาร แบบนี้จะเร็วมากขึ้นเยอะเลย
    • นักศึกษารหัสเก่ากว่า 39xxxxx กรุณาติดต่อช่องทางอีเมล onestopservice@mahidol.edu เท่านั้น
    • ผู้ขอรับบริการกรุณาอ่านเงื่อนไขการให้บริการก่อนชำระเงิน!!! ทาง OSS ขออนุญาตไม่คืนเงินหากท่านขอเอกสารเข้ามาไม่ถูกต้องทุกกรณี
    • สำหรับการทำบัตรนักศึกษาในกรณียังไม่เคยได้รับบัตร หรือ ในกรณีบัตรชำรุด สูญหาย สามารถติดต่อที่ได้ห้อง MUSAIS ในเวลา 08.30-15.30 น. เท่านั้น

    One Stop Service เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา
    เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.(เว้นวันหยุดราชการ)

    สถานที่ตั้ง : ชั้น 4 กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    เบอร์โทร : 02-849-4551
    Email : onestopservice@mahidol.edu

    :: กองบริหารการศึกษา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ม.มหิดล ศาลายา

  • Q : จบการศึกษาแล้วแต่ยังไม่ได้รับใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) และใบรับรองคุณวุฒิของนักศึกษา

    A : ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) และใบรับรองคุณวุฒิของนักศึกษาที่จบปีการศึกษานี้ หากยังไม่ได้รับให้ติดต่อคณะต้นสังกัด เนื่องจากทางคณะจะเป็นผู้แจกให้กับนักศึกษา หากได้รับไปแล้วและต้องการจะขอเพิ่ม ให้ทำเรื่องขอเพิ่มได้ที่ One Stop Service สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก


    One Stop Service เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา
    เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.(เว้นวันหยุดราชการ)

    สถานที่ตั้ง : ชั้น 4 กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    เบอร์โทร : 02-849-4551
    Email : onestopservice@mahidol.edu

    :: กองบริหารการศึกษา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ม.มหิดล ศาลายา

  • Q : อยากทราบอัตราค่าบริการขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา และใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ถึงจะสามารถรับได้

    A : รายละเอียดอัตราค่าบริการและระยะเวลาในการขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา มีข้อมูลดังนี้

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    รายการ อัตรา ระยะเวลา
    • ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) 50 บาท 7 วันทำการ
    • ใบรับรองการเป็นนักศึกษา (Certificate) 50 บาท 7 วันทำการ
    • ใบแทนปริญญาบัตร (Testimonial) 100 บาท 7-15 วันทำการ
    • ใบแปลปริญญาบัตร (Translate) 100 บาท 7 วันทำการ
    • คำอธิบายรายวิชา (Course Information) 20 บาท 3 วัน
    • การแก้ไขข้อมูลนักศึกษาปัจจุบัน (เบื้องต้น) 20 บาท 1 วันทำการ
    • ทำบัตรนักศึกษา (กรณีสูญหาย/ชำรุด) 250 บาท 30 นาที
    (ชำระผ่านช่องทาง QR Code)

    One Stop Service เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา
    เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.(เว้นวันหยุดราชการ)

    สถานที่ตั้ง : ชั้น 4 กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    เบอร์โทร : 02-849-4551
    Email : onestopservice@mahidol.edu

    :: กองบริหารการศึกษา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ม.มหิดล ศาลายา

  • Q : เปิดบัญชี SCB เพื่อทำบัตรนักศึกษาในแอพพลิเคชั่นไม่ได้ ข้อมูลนักศึกษาไม่ถูกต้อง

    A : ขอให้นักศึกษาส่ง ชื่อ / รหัสนักศึกษา / ปัญหาที่พบ มาที่อีเมล : musmartcard@mahidol.ac.th

  • Q : ลงทะเบียนทำบัตรนักศึกษาไม่ทันทำอย่างไร
    A : สำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนทำบัตรนักศึกษาไม่ทันตามกำหนด
    ส่งรายละเอียดและแบบฟอร์มมาที่ e-mail : musmartcard@mahidol.ac.th เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่กองบริหารการศึกษาทราบและประสานงานกับ SCB ต่อไป
  • Q : ยังไม่เคยได้รับบัตรประจำตัวนักศึกษาต้องทำอย่างไร

    A : สามารถติดต่อที่ได้ห้อง MUSAIS ในเวลา 08.30-15.30 น. เท่านั้น


    One Stop Service
    เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา

    สถานที่ตั้ง : ห้อง Mahidol University Student, Academic and International Services (MUSAIS) อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    โทร: 02 849 4551 หรือ อีเมล onestopservice@mahidol.edu

    (** เบอร์ One Stop Service มีคู่สายเดียว ในบางครั้งจึงไม่สามารถให้บริการทุกท่านได้อย่างเต็มที่ หากติดต่อแล้วไม่มีคนรับสาย กรุณารอ 10 นาที เพื่อติดต่ออีกครั้งค่ะ หรือแจ้งรายละเอียดทางอีเมลได้ทันที)

    ทั้งนี้ : การติดต่อ One Stop Service ทุถกครั้ง กรุณาแจ้งรหัสนักศึกษา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการทำรายการค่ะ

    หมายเหตุ:

    • สำหรับผู้ที่เลือกมารับเอกสารด้วยตัวเอง สามารถมารับได้ในวัน – เวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. (ปิดพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น.) ณ ห้อง MUSAIS ชั้น 1 ตึก MLC ม.มหิดล ศาลายา
    • สำหรับการแก้ไขข้อมูลนักศึกษา (เบื้องต้น) หมายถึงการแก้ไขตัวสะกดเท่านั้น
    • Trick พิเศษ!!!! แนะนำให้ผู้ขอรับบริการ ขอผ่านช่องทาง Online เข้ามาก่อน แล้วค่อย Walk-in มารับเอกสาร แบบนี้จะเร็วมากขึ้นเยอะเลย
    • นักศึกษารหัสเก่ากว่า 39xxxxx กรุณาติดต่อช่องทางอีเมล onestopservice@mahidol.edu เท่านั้น
    • ผู้ขอรับบริการกรุณาอ่านเงื่อนไขการให้บริการก่อนชำระเงิน!!! ทาง OSS ขออนุญาตไม่คืนเงินหากท่านขอเอกสารเข้ามาไม่ถูกต้องทุกกรณี
    • สำหรับการทำบัตรนักศึกษาในกรณียังไม่เคยได้รับบัตร หรือ ในกรณีบัตรชำรุด สูญหาย สามารถติดต่อที่ได้ห้อง MUSAIS ในเวลา 08.30-15.30 น. เท่านั้น

    เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.(เว้นวันหยุดราชการ)
    กองบริหารการศึกษา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ม.มหิดล ศาลายา

    เบอร์โทร : 02-849-4551
    Email : onestopservice@mahidol.edu

     

  • Q : บัตรประจำตัวนักศึกษาชำรุด สูญหาย ติดต่อขอรับใหม่ได้ที่ไหน

    A : สามารถติดต่อที่ได้ห้อง MUSAIS ในเวลา 08.30-15.30 น. เท่านั้น


    One Stop Service
    เป็นจุดให้บริการเบ็ดเสร็จสำหรับการขอรับบริการเอกสารสำคัญทางการศึกษา

    สถานที่ตั้ง : ห้อง Mahidol University Student, Academic and International Services (MUSAIS) อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
    โทร: 02 849 4551 หรือ อีเมล onestopservice@mahidol.edu

    (** เบอร์ One Stop Service มีคู่สายเดียว ในบางครั้งจึงไม่สามารถให้บริการทุกท่านได้อย่างเต็มที่ หากติดต่อแล้วไม่มีคนรับสาย กรุณารอ 10 นาที เพื่อติดต่ออีกครั้งค่ะ หรือแจ้งรายละเอียดทางอีเมลได้ทันที)

    ทั้งนี้ : การติดต่อ One Stop Service ทุถกครั้ง กรุณาแจ้งรหัสนักศึกษา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลการทำรายการค่ะ

    หมายเหตุ:

    • สำหรับผู้ที่เลือกมารับเอกสารด้วยตัวเอง สามารถมารับได้ในวัน – เวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. (ปิดพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น.) ณ ห้อง MUSAIS ชั้น 1 ตึก MLC ม.มหิดล ศาลายา
    • สำหรับการแก้ไขข้อมูลนักศึกษา (เบื้องต้น) หมายถึงการแก้ไขตัวสะกดเท่านั้น
    • Trick พิเศษ!!!! แนะนำให้ผู้ขอรับบริการ ขอผ่านช่องทาง Online เข้ามาก่อน แล้วค่อย Walk-in มารับเอกสาร แบบนี้จะเร็วมากขึ้นเยอะเลย
    • นักศึกษารหัสเก่ากว่า 39xxxxx กรุณาติดต่อช่องทางอีเมล onestopservice@mahidol.edu เท่านั้น
    • ผู้ขอรับบริการกรุณาอ่านเงื่อนไขการให้บริการก่อนชำระเงิน!!! ทาง OSS ขออนุญาตไม่คืนเงินหากท่านขอเอกสารเข้ามาไม่ถูกต้องทุกกรณี
    • สำหรับการทำบัตรนักศึกษาในกรณียังไม่เคยได้รับบัตร หรือ ในกรณีบัตรชำรุด สูญหาย สามารถติดต่อที่ได้ห้อง MUSAIS ในเวลา 08.30-15.30 น. เท่านั้น

    เปิดบริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.(เว้นวันหยุดราชการ)
    กองบริหารการศึกษา อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ม.มหิดล ศาลายา

    เบอร์โทร : 02-849-4551
    Email : onestopservice@mahidol.edu

  • Q : สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเปิดบัญชี 0 บาท (ศูนย์บาทถ้วน) ในการขอมีบัตรประจำตัวนักศึกษา SMART ID CARD (บัตรเดบิต) ได้ที่ไหน

    A : นักศึกษาสามารถเข้าดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเปิดบัญชีได้ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th

    โดย Login เข้าใช้งานระบบ และเข้าสู่เมนู สารสนเทศนักศึกษา เลือกดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเปิดบัญชี 0 บาท (ศูนย์บาทถ้วน) (สำหรับนักศึกษาที่ไม่เคยมีบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือต้องการเปิดบัญชีธนาคารฯ ใหม่)

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Email: musmartcard@mahidol.ac.th

  • Q : ยื่นคะแนนภาษาอังกฤษอย่างไร

    A : ตามประกาศ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีฯ พ.ศ. 2564 กำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาต้องได้รับมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษตามที่กำหนดก่อนจบการศึกษา

    โดยสามารถทำการยื่นคะแนนภาษาอังกฤษได้ในระบบ Smartedu ตามขั้นตอน ดังนี้

    1. Login เข้าสู่ระบบ Smartedu
    2. เลือกรายการ “ระบบคะแนนภาษาอังกฤษ”
    3. เลือก “ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ”
    4. เลือก “กรอกข้อมูลคะแนนการสอบ”
    5. ใส่ข้อมูลที่กำหนดแล้วกด “บันทึก”

    หมายเหตุ:

    1. สำหนักนักศึกษาที่มีผลการสอบ MU-ELT และผู้ที่ผ่านการเรียน Intensive English Courses ไม่ต้องยื่นคะแนนผ่านระบบ Smartedu
    2. สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ให้ปฏิบัติการตามประกาศส่วนงาน

    ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม งานทะเบียนและประมวลผล กองบริหารการศึกษา : โทร. 02 849 4571

  • Q : ทำไมในใบเสร็จค่าเทอมจึงมีวิชาภาษาอังกฤษอยู่แล้ว

    A : เป็นการลงทะเบียนแบบ “แพคเกจ” ไว้ให้สำหรับนศ.ปี 1 เทอม 1 จะได้ทราบว่าต้องเรียนอะไร

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ต้องเรียนตามเลเวลหรือระดับที่ปรากฎในใบเสร็จใช่หรือไม่

    A : ไม่ใช่ ต้องรอจัดระดับโดยใช้คะแนนภาษาอังกฤษจาก MU-ELT หรือคะแนนอื่นๆ ก่อน

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ถ้าเลเวลหรือระดับที่เรียนไม่ตรงกับใบเสร็จเป็นอะไรไหม

    A : ไม่เป็นไร ขอให้ตรงกับผลการลงทะเบียนก็พอ

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

     

     

  • Q : เมื่อจัดระดับตามคะแนนภาษาอังกฤษแล้วต้องทำอย่างไรต่อไป

    A : การดำเนิการแบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้

    • แบบที่ 1 อยู่ระดับเดียวกันกับที่คณะลงทะเบียนให้ : นักศึกษาไม่ต้องดำเนินการอะไร
    • แบบที่ 2 อยู่ระดับที่สูงหรือต่ำกว่าระดับที่คณะลงทะเบียนให้ : ระบบจะปรับระดับใน Smartedu ให้อัตโนมัติ นักศึกษาไม่ต้องดำเนินการอะไร
    • แบบที่ 3 คะแนนจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องเรียน Advanced English : นักศึกษาต้อง “ลดรายวิชา” LAEN xxx (3 หน่วยกิต) ออกก่อน แล้วจึงลงทะเบียน “เพิ่มรายวิชา” ในกลุ่ม Advanced English (3 หน่วยกิต) ภายในระยะเวลาที่กำหนด

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : ทำไมบางคนมีการปรับระดับหรือลดรายวิชาแล้ว บางคนผลการลงทะเบียนยังเหมือนเดิม

    A : เจ้าหน้าที่กำลังทยอยอัปเดต สามารถตรวจสอบได้อีกครั้งเมื่อถึงกำหนดการลงทะเบียนของปี 1

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : กรณีต้องเรียน Advanced English จะเลือกกลุ่มเรียน (sec) และจัดตารางอย่างไร

    A : เลือกกลุ่มเรียนในช่วงเวลาที่ไม่ซ้อนกับวิชามมศท และวิชาภาษาไทย

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : กรณียังไม่มีคะแนนภาษาอังกฤษต้องทำอย่างไร

    A : สมัครสอบ MU-ELT รอบเพิ่มเติม รอประกาศผลคะแนนและผลการจัดกลุ่มเรียน แล้วจึงลงทะเบียนเรียนในกลุ่มที่ 2 ติดตามข้อมูลได้ที่ https://op.mahidol.ac.th/ea/english

     

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : รายวิชาภาษาอังกฤษหายไปจากรายการรายวิชาที่ลงทะเบียน

    A : ให้ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งในช่วงกำหนดลงทะเบียน และหากพบปัญหา สามารถสอบถามได้ที่ทางเพจกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

    สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  >  กดคลิก

    หมายเหตุ : FAQ นี้เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (เฉพาะที่ส่งคะแนนภาษาอังกฤษ เพื่อจัดกลุ่มเรียนเรียบร้อยแล้ว)

     

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : การจัดสอบ MU-ELT จะมีสอบกี่ครั้ง

    A :  คณะศิลปศาสตร์จะจัดให้มีการสอบ MU-ELT ปีละ 3-4 ครั้ง ติดตามได้ทางเว็บไซต์ของคณะศิลปศาสตร์ https://la.mahidol.ac.th/th/mu-elt และเฟสบุ๊ค www.facebook.com/LiberalArts.Mahidol

    ติดต่อ: ศูนย์ทดสอบภาษาและพัฒนาทักษะทางวิชาการ
    Center for Assessment and Academic Services

    Tel: 02-4414401-8 ต่อ 1110,1106,1730 หรือ 064-4382250
    Facebook: https://www.facebook.com/MULA.CAAS
    Email: mula.caas@gmail.com
    Line: @574cnrgk

  • Q : เกณฑ์คะแนนมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษามหิดล ระดับปริญญาตรี ต้องมีคะแนนเท่าไหร่

    A : เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานความรู้ด้านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจะต้องมีเกณฑ์ผ่านภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ตามประกาศมาตรฐานภาษาอังกฤษฯ ( https://bit.ly/3X0pRtE )

    ประเภทการสอบ คะแนน
    1 MU-ELT 84 คะแนนขึ้นไป
    2 MU GRAD test 70 คะแนนขึ้นไป
    3 TOEIC 600 คะแนนขึ้นไป
    4 TOEFL ITP 500 คะแนนขึ้นไป (เฉพาะที่จัดสอบโดยมหาวิทยาลัยมหิดล)
    5 TOEFL iBT 64 คะแนนขึ้นไป
    6 MU-ELT* 42 คะแนนขึ้นไป (นศ.ที่มีข้อจำกัดทางการได้ยิน หรือมีข้อจำกัดในการฟังและการูด ใช้เฉพาะคะแนนด้านการอ่าน)
    7 IELTS 5.0 คะแนนขึ้นไป
    8 Duolingo Englist test 90 คะแนนขึ้นไป

     


    ‼️ สำหรับนักศึกษาใหม่ที่ไม่มีคะแนนสอบ หรือมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ‼️ มีสิทธิ์สมัครสอบ MU-ELT รอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบให้ฟรี 1 ครั้ง

    หมายเหตุ :
    1. กรณีหลักสูตรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานฯ สูงความเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาใช้คะแนนตามเกณฑ์ของหลักสูตร
    2. สำหรับนักศึกษาใหม่รหัส 66XXXXX ที่เคยยื่นคะแนนภาษาอังกฤษแล้วกรุณายื่นคะแนนใหม่อีกครั้ง

    สอบถามเพิ่มเติมในวันและเวลาราชการ
    • เรื่องการยื่นคะแนน โทร. 02-849-4571 (งานทะเบียนและประมวลผล)
    • เรื่องการสอบ MU-ELT โทร. 02-849-4591 (งานบริการการศึกษา)

    ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่เพจ กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    https://www.facebook.com/MAHIDOL.EA

  • Q : สามารถแจ้งความประสงค์ในการย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มายังรพ.สังกัดม.มหิดลได้อย่างไร

    A : มหาวิทยาลัยอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ต้องการย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มายัง รพ.สังกัด ม.มหิดลได้ด้วยช่องทางนี้

    • นักศึกษาระดับก่อนปริญญาตรีและระดับปริญญาตรี : แจ้งความประสงค์ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th หรือ เข้าจาก We Mahidol Application
      • เลือกเมนู “สารสนเทศนักศึกษา” และเลือก “ระบบแจ้งย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพ/Health Insurance for International Student
      • นศ.ที่ใช้งานเป็นครั้งแรก ระบบแจ้งแสดงรายละเอียดให้ศึกษา / นศ.ที่เคยแสดงความประสงค์ไว้แล้วสามารถแสดงความประสงค์ใหม่ได้ (ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี ตามที่สปสช.กำหนด)
    • นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา : ติดต่อ “งานกิจการนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล”

    Note :
    • นศ.สามารถตรวจสอบสิทธิด้วยตนเองได้ที่ https://eservices.nhso.go.th/eServices
    • การย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถย้ายได้ไม่เกิน 4 โรงพยาบาลเท่านั้น ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน
    • การย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มายัง รพ.สังกัด ม.มหิดล หลังจากแจ้งความประสงค์แล้ว จะใช้ระยะเวลาย้ายสิทธิภายใน 2 เดือน
    • หากเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการที่ รพ.สังกัด ม.มหิดล ได้ทุกแห่งโดยนำบัตรนักศึกษาและบัตรประชาชนไปแสดงตนที่ รพ.ทุกครั้งที่รับบริการ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายในรายการที่สวัสดิการนักศึกษาครอบคลุม

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

  • Q : ย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มายัง รพ.สังกัด ม.มหิดลดีอย่างไร

    A : เมื่อนศ.มหิดล ทำการย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้วนั้นจะได้รับ ดังนี้

    1. เป็นสวัสดิการสำหรับ นศ.มหิดล ที่สามารถย้ายสิทธิฯ มายังรพ.ศิริราช หรือรพ.รามาธิบดี ได้ในระหว่างที่ศึกษา (ไม่เปิดลงทะเบียนทั่วไป)
    2. รายการรักษาพยาบาลครอบคลุมค่ารักษาใน รพ.ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถเบิกค่ารักษาได้มากกว่า 30,000 บาทต่อปีการศึกษา โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
    3. สามารถเบิกค่ารักษาทางทันตกรรมได้มากกว่ารายการทันตกรรมพื้นฐานใน รพ.ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

    Note :
    • นศ.สามารถตรวจสอบสิทธิด้วยตนเองได้ที่ https://eservices.nhso.go.th/eServices
    • การย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถย้ายได้ไม่เกิน 4 โรงพยาบาลเท่านั้น ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน
    • การย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มายัง รพ.สังกัด ม.มหิดล หลังจากแจ้งความประสงค์แล้ว จะใช้ระยะเวลาย้ายสิทธิภายใน 2 เดือน
    • หากเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการที่ รพ.สังกัด ม.มหิดล ได้ทุกแห่งโดยนำบัตรนักศึกษาและบัตรประชาชนไปแสดงตนที่ รพ.ทุกครั้งที่รับบริการ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายในรายการที่สวัสดิการนักศึกษาครอบคลุม

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

  • Q : สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ย้ายได้ไหม และจะกระทบอะไรหรือไม่

    A : สามารถเลือกได้ตามความสมัครใจของนักศึกษา

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

  • Q : สวัสดิการด้านสุขภาพ นศ.มหิดล กับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นครอบคลุมอะไรบ้าง

    A : สิ่งที่สวัสดิการด้านสุขภาพครอบคลุม มีดังนี้

    1.  รับบริการรักษาพยาบาลทางด้านร่างกายและจิตใจ รพ.สังกัด ม.มหิดล ได้ทุกแห่ง
    2.  รับบริการรักษาทางทันตกรรมพื้นฐาน (อุดฟัน, ถอนฟัน, ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด) รพ.สังกัด ม.มหิดล ได้ทุกแห่ง
    3.  วงเงินค่ารักษาคนละ 30,000 บาทต่อปีการศึกษา
    4.  ไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

  • Q : สวัสดิการด้านสุขภาพ นศ.มหิดล กับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นไม่ครอบคลุมอะไรบ้าง

    A : สิ่งที่สวัสดิการด้านสุขภาพไม่ครอบคลุม มีดังนี้

    1.  การรับบริการคลินิกพิเศษ, คลินิก Premium
    2.  บริการเพื่อความสวยงาม เช่น การรักษาสิว, จัดฟัน
    3.  การรับวัคซีนเพื่อป้องกันต่าง ๆ (ยกเว้น มีความจำเป็นทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล)

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30

     

  • Q : หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (MU Health) เปิดให้บริการวันและเวลาใดบ้าง

    A : เปิดให้บริการในทุกวันจันทร์ – ศุกร์ (วันทำการ) ตั้งแต่เวลา 08.00 – 20.00 น.

    • แพทย์ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป (นอกเวลา) ทุกวันจันทร์ เวลา 16.30 – 19.30 น.
    • พี่ ๆ พยาบาลให้บริการ (เวลาทำการปกติ) ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 20.00 น.

    โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์


    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา (Mahidol Health)
    สถานที่: ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    Facebook: https://www.facebook.com/MahidolHealth
    Email: mahidolhealth@mahidol.edu
    โทร: 02-849-4529-30